รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000348
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :สารสนเทศเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้อยู่เย็นเป็นสุขตามแนวทางปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :INFORMATION FOR DEVELOPMENT THE QUALITY OF LIFE BASED ON GREEN AND HAPPINESS SOCIETY CONCEPT AND SUFFICIENCY ECONOMY PHILOSOPHY IN MUEANG DISTRICT, KAMPHAENG PHET PROVINCE
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :1) สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน (green and happiness society) 2) เศรษฐกิจพอเพียง (sufficiency economy) 3) คุณภาพชีวิต (quality of life) 4) แผนที่ความยากจน (poverty map) 5) ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS)
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ > โปรแกรมวิชาสารสนเทศภูมิศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :516150
งบประมาณทั้งโครงการ :516,200.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2554
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2555
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (ด้านพัฒนาสังคมและวัฒนธรรม)
สาขาวิชาการ :สาขาสังคมวิทยา
กลุ่มวิชาการ :สังคมวิทยา
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาและรวบรวมสารสนเทศด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้อยู่เย็นเป็นสุขตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้เกณฑ์ชี้วัดสำคัญ 4 เกณฑ์ ได้แก่ ระดับความพอเพียงของหมู่บ้าน ระดับสภาพปัญหาของหมู่บ้าน ระดับความยากจน และระดับคุณภาพชีวิต มีพื้นที่นำร่อง คืออำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร โดยสารสนเทศที่ได้จะถูกออกแบบ จัดทำ และพัฒนาในรูปแบบของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และจะถูกนำไปวิเคราะห์เพื่อจัดทำแผนที่หมู่บ้านอยู่เย็นเป็นสุข คุณภาพชีวิตดี บนวิถีพอเพียง เพื่อแสดงลักษณะความอยู่เย็นเป็นสุขในแต่ละหมู่บ้าน ผลการวิจัยจะส่งผลกระทบทันทีเมื่อถูกเผยแพร่ ประชาชนรับทราบและตระหนักรู้ถึงความพอเพียงของชุมชนตนว่าเป็นลักษณะใด ระดับใด และอย่างไร หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวเพื่อสนับสนุนให้มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้อยู่เย็นเป็นสุขตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่ได้
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ : 1) ศึกษาและรวบรวมสารสนเทศด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้อยู่เย็นเป็นสุขตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 2) ออกแบบและพัฒนาฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้อยู่เย็นเป็นสุขตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 3) จัดทำแผนที่ “หมู่บ้านอยู่เย็นเป็นสุข คุณภาพชีวิตดี บนวิถีพอเพียง” พื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ 4) เสนอแนวทางสนับสนุนให้มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้อยู่เย็นเป็นสุขตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ขอบเขตของโครงการ :ศึกษาและรวบรวมสารสนเทศด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้อยู่เย็นเป็นสุขตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร โดยมีขอบเขตเนื้อหาตามเกณฑ์ชี้วัด 4 เกณฑ์ ได้แก่ (1) ระดับความพอเพียงของหมู่บ้าน (2) ระดับสภาพปัญหาของหมู่บ้าน (3) ระดับความยากจน และ (4) ระดับคุณภาพชีวิต
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : 1) มีฐานข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม และได้แผนที่ “หมู่บ้านอยู่เย็นเป็นสุข คุณภาพชีวิตดี บนวิถีพอเพียง” เพื่อเผยแพร่ให้กับประชาชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจ และข้อมูลดังกล่าวสามารถใช้ในการศึกษาเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ 2) ประชาชนทราบ และตระหนักรู้ถึงระดับความพอเพียงของหมู่บ้าน ระดับสภาพปัญหาของหมู่บ้าน ระดับความยากจน และระดับคุณภาพชีวิต อันจะนำไปสู่แนวทางในการถกเถียง แสวงหา และเกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมให้เกิดขึ้นกับหมู่บ้านของตน 3) มีแผนกลยุทธ์ รู้จุดเด่น จุดด้อย โอกาสและอุปสรรค ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้อยู่เย็นเป็นสุขตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 4) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถใช้ผลจากงานวิจัยนี้สนับสนุนให้มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้อยู่เย็นเป็นสุขตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :ทบทวนวรรณกรรม เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ เกณฑ์ชี้วัด/ตัวชี้วัด/วิธีการวัด ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : กรอบแนวคิดของโครงการวิจัย คือ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้อยู่เย็นเป็นสุขตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง บางส่วนมีการจัดเก็บไว้แล้วโดยหน่วยงานที่มีภารกิจหลักในการรับผิดชอบ มีเกณฑ์/ตัวชี้วัดที่เป็นมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับ ตัวเกณฑ์ถูกสร้างขึ้นโดยผ่านการบูรณาการองค์ความรู้ หน่วยงาน และผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก แต่เมื่อเกณฑ์ดังกล่าวถูกนำมาใช้และถูกรวบรวมข้อมูลไว้ กลับพบว่ายังมีการเผยแพร่น้อย และการจัดเก็บข้อมูลส่วนใหญ่อยู่ในลักษณะข้อมูล MIS ทำให้ไม่สามารถมองเห็นลักษณะในเชิงพื้นที่ได้อย่างชัดเจน การรวบรวมข้อมูลและจัดทำเป็นข้อมูล GIS จะทำให้สามารถมองเห็นปรากฏการณ์เชิงพื้นที่ได้ ประชาชนในพื้นที่เข้าใจได้ง่าย เกิดการตระหนักรู้ระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนว่าเป็นลักษณะใด ระดับใด และอย่างไร และข้อมูล GIS ยังสามารถนำไปวิเคราะห์และต่อยอดเพื่อการดำเนินการอื่นๆ ได้อีกด้วย ทั้งนี้กรอบแนวคิดของโครงการวิจัยและขอบเขตเนื้อหา
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :(1) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรผู้ตอบแบบสอบถาม คือ หัวหน้าครัวเรือนหรือตัวแทนที่มีอายุมากกว่า 18 ปี สามารถให้ข้อมูลได้ มีที่อยู่อาศัยในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร กลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีสุ่มอย่างง่ายจากประชากร จำนวนหมู่บ้านละ 10 คน 215 หมู่บ้าน รวมกลุ่มตัวอย่างจำนวน 2,150 คน (2) ข้อมูลจำเป็นและลักษณะแบบสอบถาม ข้อมูลจำเป็นประกอบด้วย 1. ข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์แบบชั้นข้อมูล Shape file โดยมีชั้นข้อมูลหลักคือตำแหน่งหมู่บ้านซึ่งจะจัดเก็บใหม่โดยใช้เครื่อง GPS และข้อมูลประกอบอื่นๆ เช่น ขอบเขตการปกครอง แหล่งน้ำ ทางน้ำ ถนน เป็นต้น 2. ข้อมูลจากแบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลระดับความพอเพียงของหมู่บ้าน (ขอรับบริการ) ระดับสภาพปัญหาของหมู่บ้าน (ขอรับบริการ) ระดับความยากจน (ขอรับบริการ) ระดับคุณภาพชีวิต (จัดเก็บข้อมูลเองโดยใช้แบบสอบถามที่ถูกจัดทำขึ้นโดยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์) ข้อมูลการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้อยู่เย็นเป็นสุขตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (สัมภาษณ์ผู้นำหมู่บ้าน) และข้อมูลแผนกลยุทธ์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้อยู่เย็นเป็นสุขตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (จากการประชุมกลุ่มย่อยผู้นำหมู่บ้าน ตัวแทนประชาชน และเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง)
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :2414 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายสุภาสพงษ์ รู้ทำนอง บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย40
นายวัลลภ ทองอ่อน บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย30
นายศุภฤทธิ์ ธาราทิพย์นรา บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย30

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด