รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000351
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :รูปแบบที่เหมาะสมในการผลิตข้าวเสริมสารต้านอนุมูลอิสระจากพืชผักพื้นบ้าน จ.กำแพงเพชร
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Appropriate format in production of rice adds antioxidant compounds from Local Plants in Kampheang phet Province.
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :ข้าวเสริมสารต้านอนุมูลอิสระ พืชผักพื้นบ้าน
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :171900
งบประมาณทั้งโครงการ :171,900.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2554
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2555
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิทยาศาตร์และเทคโนโลยี (ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและอุตสาหกรรม)
สาขาวิชาการ :สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :จากปัญหาและความสำคัญที่กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยจึงเกิดความสนใจในการศึกษารูปแบบที่เหมาะสมในการผลิตข้าวเสริมสารต้านอนุมูลอิสระจากพืชผักพื้นบ้าน จ.กำแพงเพชรเพื่อให้ได้คุณประโยชน์ในแง่ของโภชนาการและอาหารเสริมที่มีคุณค่าต่อสุขภาพและเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยเพิ่มมูลค่าของข้าว เศรษฐกิจและประโยชน์ด้านอื่นๆ ต่อไป
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1) เพื่อศึกษาวัตถุดิบที่เหมาะสมในการนำมาประกอบการผลิตข้าวเสริมสารต้านอนุมูลอิสระ 2) เพื่อผลิตข้าวเสริมสารต้านอนุมูลอิสระจากจากพืชผักพื้นบ้านในจังหวัดกำแพงเพชร 3) เพื่อศึกษาความเหมาะสมของรูปแบบการผลิตข้าวเสริมสารต้านอนุมูลอิสระจากจากพืชผักพื้นบ้านในจังหวัดกำแพงเพชร
ขอบเขตของโครงการ :7.1 ขอบเขตด้านเนื้อหา ในงานวิจัยมีขอบเขตด้านเนื้อหาดังนี้ 7.1 ศึกษาวัตถุดิบที่เหมาะสมในการผลิตข้าวเสริมอนุมูลอิสระ วัตถุดิบที่ศึกษา ได้แก่พืชผักพื้นบ้าน จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 10 ชนิด และเมล็ดข้าวเจ้าจำนวน 5 ชนิด ข้าวเหนียว 5 ชนิด 7.2 ผลิตข้าวเสริมสารต้านอนุมูลอิสระจากพืชผักพื้นบ้านในจังหวัดกำแพงเพชรด้วยรูปแบบต่างๆ 7.3 ศึกษาความเหมาะสมของรูปแบบการผลิตโดยนำข้าวเสริมสารต้านอนุมูลอิสระจากพืชผักพื้นบ้านในจังหวัดกำแพงเพชรมาศึกษาฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ คุณภาพทางเคมีกายภาพ และระดับการยอมรับทางประสาทสัมผัสของผู้บริโภค ที่มีต่อข้าวเสริมสารต้านอนุมูลอิสระจากพืชผักพื้นบ้านในจังหวัดกำแพงเพชร 7.2 ตัวแปรที่ศึกษา จำแนกตามวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 7.2.1 วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อศึกษาวัตถุดิบที่เหมาะสมในการนำมาประกอบการผลิตข้าวเสริมสารต้านอนุมูลอิสระจำแนกเป็น 2 ตอนย่อย ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1.1 ขั้นศึกษาบริบทของพืชผักพื้นบ้านจังหวัดกำแพงเพชรและพันธ์ข้าวเจ้า และพันธุ์ข้าวเหนียวที่นิยมปลูกในเขตพื้นที่ จังหวัดกำแพงเพชร แหล่งข้อมูล คือ เอกสารหลักฐาน งานวิจัยที่เกี่ยวข้องจากสารสนเทศ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสารต้านอนุมูลอิสระ ข้าว และพืชผักพื้นบ้าน และการสอบถามจากผู้ทรงคุณวุฒิในท้องถิ่น ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ ชนิดของพืชผักพื้นบ้าน และชนิดของข้าวเจ้า และข้าวเหนียวที่จะนำมาใช้เป็นวัตถุดิบ ขั้นตอนที่ 1.2 ขั้นศึกษาฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของวัตถุดิบ 1) ตัวแปรต้น ได้แก่ ชนิดของพืชผักพื้นบ้าน ศึกษาจำนวน 10 ชนิดและเมล็ดข้าวเจ้าจำนวน 5 ชนิด ข้าวเหนียว 5 ชนิด 2) ตัวแปรตาม ได้แก่ ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ 7.2.2 วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เพื่อผลิตข้าวเสริมสารต้านอนุมูลอิสระจากจากพืชผักพื้นบ้านในจังหวัดกำแพงเพชร ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ วิธีการในการผลิตข้าวเสริมสารต้านอนุมูลอิสระ โดยศึกษาวิธีการที่ใช้ผสมและสัดส่วนของการผสมพืชกับข้าวแต่ละชนิด 7.2.3 วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 เพื่อศึกษาความเหมาะสมของรูปแบบการผลิตข้าวเสริมสารต้านอนุมูลอิสระจากจากพืชผักพื้นบ้านในจังหวัดกำแพงเพชร 1) ตัวแปรต้น ได้แก่ ข้าวเสริมสารต้านอนุมูลอิสระที่ผลิตด้วยรูปแบบต่างๆ 2) ตัวแปรตาม ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ ค่าสี ปริมาณความชื้น วิเคราะห์ปริมาณ อมิโลส ความคงตัวของแป้งสุก ระยะเวลาในการหุงต้ม การยืดตัวของเมล็ดข้าวสุก เปอร์เซ็นต์การดูดน้ำ ปริมาตรที่เพิ่มขึ้น ระดับการยอมรับทางประสาทสัมผัสของผู้บริโภค 7.3 นิยามศัพท์ อนุมูลอิสระ (free radicals) คือ อะตอมหรือโมเลกุลใดที่มีอิเล็กตรอนที่ไม่เข้าคู่ (unpaired electron) อย่างน้อย 1 อิเล็กตรอนภายในอะตอมหรือโมเลกุลนั้น สารต้านอนุมูลอิสระ คือสารเคมีที่ทำหน้าที่ต่อต้านหรือยับยั้งการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ในที่นี้รวมถึงสารที่สามารถยับยั้งและควบคุมอนุมูลอิสระไม่ให้ไปกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน จึงช่วยยับยั้งอนุมูลอิสระไม่ทำให้องค์ประกอบของเซลล์สารต้านอนุมูลอิสระมีทั้งที่เป็นสารจากธรรมชาติ (natural antioxidant) ข้าวเสริมสารต้านอนุมูลอิสระ คือ ข้าวสารทั้งข้าวเจ้า และข้าวเหนียวที่มีการเพิ่มขึ้นของสารต้านอนุมูลอิสระจากพืชผักพื้นบ้าน จ.กำแพงเพชร รูปแบบที่เหมาะสม คือ วิธีการที่ใช้ผลิตข้าวเสริมสารต้านอนุมูลอิสระแล้วทำให้มีข้าวนั้นมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด มีคุณทางเคมีตามเกณฑ์คุณภาพมาตรฐานข้าวไทยและมีระดับการยอมรับตั้งแต่ระดับมากขึ้นไป พืชผักพื้นบ้าน จ.กำแพงเพชร คือ พืชผักพื้นบ้านจังหวัดกำแพงเพชรที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 10 ชนิด
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :11.1 ได้วิธีการผลิตข้าวเสริมสารต้านอนุมูลอิสระที่เหมาะสมที่สุด และได้ทราบประสิทธิภาพการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากพืชผักพื้นบ้านในจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของพืชผักพื้นบ้านได้ 11.2 เป็นแนวทางในการนำพืชผักพื้นบ้านไทยมาใช้ประโยชน์ในด้านการประยุกต์ หรือแปรรูป พืชผักพื้นบ้านไทยในรูปของอาหารหรือผลิตภัณฑ์เพื่อส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งเป็นการสนับสนุนให้คนไทยนำมาบริโภคและเพาะปลูกพืชเหล่านี้มากยิ่งขึ้นทั้งยังช่วยในการเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศอีกทางหนึ่ง
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :9.1 อนุมูลอิสระ 9.2 สารต้านอนุมูลอิสระ 9.3 ผลและกลไกการทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระ 9.4 สารต้านอนุมูลอิสระที่ร่างกายได้รับจากอาหาร 9.5 ส่วนประกอบและคุณค่าทางโภชนาการของสารอาหารในเมล็ดข้าว 9.6 คุณภาพทางเคมีของข้าวที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการหุงต้มและรับประทาน 9.7 พืชผักพื้นบ้าน 9.8 เทคนิคการเสริมสารอาหารในข้าว
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :-
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :1002 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางขวัญดาว แจ่มแจ้ง บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด