รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000352
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การขยายพันธุ์กล้วยไม้สกุลเชิงบางชนิดโดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อ การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :In vitro clonal propagation of Bulbophyllum sp. using tissue culture methods for conservation and sustainable use
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ, กล้วยไม้สกุลสิงโต, ต้นกล้า, การอนุรักษ์ Tissue culture, Bulbophyllum sp., Plantlet, Conservation
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :150000
งบประมาณทั้งโครงการ :150,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2554
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2555
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (ด้านพัฒนาสังคมและวัฒนธรรม)
สาขาวิชาการ :สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
กลุ่มวิชาการ :สิ่งแวดล้อมทางการเกษตร
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ในปัจจุบันในประเทศไทยได้มีการใช้ประโยชน์จากกล้วยไม้เพิ่มสูงขึ้น แต่มักเป็นการใช้ประโยชน์ในด้านการปรับปรุงพันธุ์ และผลิตเพื่อการค้าเป็นส่วนใหญ่ สำหรับการใช้ประโยชน์กล้วยไม้จากชนิดพันธุ์ป่านั้น อยู่ในทิศทางที่ไม่เหมาะสม มีการลักลอบนำออกมาจากป่าเพื่อการค้า รวมไปถึงการบุกรุกแผ้วถางป่าเพื่อขยายพื้นที่การเกษตร ในบริเวณที่เป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ตามเขตป่าสงวนแห่งชาติ และ/หรืออุทยานแห่งชาติต่างๆ ทั่วประเทศไทย ทำให้กล้วยไม้ป่าดังกล่าวมีจำนวนลดลงต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็ว (สลิล, 2549) ซึ่งทำให้กล้วยไม้ป่าที่มีคุณค่าของไทยหลายชนิดได้สูญพันธุ์ไป และยังมีอีกหลายชนิดที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ รวมไปถึงกล้วยไม้สกุลสิงโตด้วย ดังนั้นทางหนึ่งที่จะช่วยอนุรักษ์และคุ้มครองพันธุ์กล้วยไม้สกุลสิงโตให้คงอยู่ได้ คือ การศึกษาความเป็นไปได้ในการอนุรักษ์และการใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการขยายพันธุ์กล้วยไม้สกุลสิงโตเพื่อให้ได้ต้นเป็นจำนวนมากในเวลาอันรวดเร็ว สำหรับนำใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อไป
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :5.1 เพื่อรวบรวมเมล็ดกล้วยไม้สกุลสิงโต สำหรับใช้เป็นฐานทรัพยากรพันธุกรรม 5.2 เพื่อศึกษากระบวนการงอกของเมล็ดกล้วยไม้สกุลสิงโตบางชนิดในสภาพปลอดเชื้อ 5.3 เพื่อศึกษาปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาของกล้วยไม้สกุลสิงโต 5.4 เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการนำต้นอ่อนกล้วยไม้สกุลสิงโตออกปลูกใน สภาพแวดล้อมปกติ
ขอบเขตของโครงการ :ศึกษาเทคนิค วิธีการ และปัจจัยบางประการที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของต้นอ่อน และ/หรือโปรโตคอร์มของกล้วยไม้สกุลสิงโตบางชนิด ในสภาพปลอดเชื้อ รวมไปถึงการทดลองนำต้นกล้ากล้วยไม้สกุลสิงโตที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อออกปลูกในสภาพแวดล้อมภายนอก
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :11.1 ใช้เป็นแนวทางในการผลิตต้นกล้ากล้วยไม้สกุลสิงโต และ/หรือกล้วยไม้สกุลอื่นๆ ที่มีคุณภาพ ให้ได้เป็นจำนวนมาก ในเวลาอันรวดเร็วต่อเนื่องกันตลอดทั้งปี 11.2 เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาการผลิตต้นกล้ากล้วยไม้สกุลสิงโตที่มีคุณภาพ 11.3 ทดแทนการลักลอบนำเอากล้วยไม้สกุลสิงโตออกมาจากป่าธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ ซึ่งจะช่วยลดอัตราการเสี่ยงต่อภาวะสูญพันธุ์
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :กล้วยไม้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว อยู่ในวงศ์กล้วยไม้ (Family Orchidaceae) ซึ่งนับว่าเป็นพืชวงศ์ใหญ่ที่สุดของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เนื่องจากมีอยู่ไม่ต่ำกว่า 600 สกุล (genus) ราว 25,000 ชนิด (species) กล้วยไม้มีรูปร่างลักษณะของราก ต้น ใบ และดอก แตกต่างกันไปหลายรูปแบบ พบกล้วยไม้ขึ้นอยู่ในที่หลายแห่ง ทั้งดิน โขดหินหรือบนต้นไม้ กล้วยไม้มีการกระจายพันธุ์ไปทั่วโลก ทั้งในแถบร้อน อบอุ่น และหนาวเย็นขนาดเป็นน้ำแข็งในบางฤดูก็ยังมีกล้วยไม้อาศัยอยู่ แหล่งที่พบกล้วยไม้มากที่สุดคือ อยู่แถบทวีปเอเชีย ประเทศไทยนับว่าเป็นแหล่งที่มีกล้วยไม้ป่ามากแหล่งหนึ่งของโลก (ไพบูลย์, 2521 ; ระพี, 2517)
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :กล้วยไม้สกุลสิงโตหลายชนิดในประเทศไทยอยู่ในสถานภาพที่ถูกคุกคาม เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ และบางชนิดหาได้ยากขึ้นในธรรมชาติ อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทำให้กล้วยไม้สกุลสิงโตดังกล่าวอยู่ในสถานภาพที่ใกล้สูญพันธุ์ ดังนั้นการศึกษาพัฒนาวิธีขยายพันธุ์กล้วยไม้สกุลสิงโตดังกล่าวโดยใช้เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเข้ามาช่วย จะทำให้กล้วยไม้สกุลสิงโตมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอันจะเป็นแนวทางในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อไป
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :13.1 รูปแบบการวิจัยเป็นการวางแผนการทดลองเพื่อเปรียบเทียบค่าความแตกต่างทางสถิติ ที่จะนำมาใช้วิเคราะห์และสรุปผลการทดลอง โดย 13.1.1 การทดลองศึกษากระบวนการงอกของเมล็ดกล้วยไม้สกุลสิงโต จะสุ่มนับเมล็ดที่มีการเปลี่ยนแปลงในระยะต่างๆ ของการงอก จำนวน 100 เมล็ด และสุ่มนับซ้ำ 2 ครั้ง เป็นระยะๆ 13.1.2 การทดลองศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้โปรโตคอร์มและ/หรือต้นอ่อนกล้วยไม้สกุลสิงโตบางชนิดที่เกิดขึ้นใหม่ มีอัตราการเจริญที่เร็วขึ้น และสามารถทวีจำนวนได้ จะใช้โปรโตคอร์ม และต้นอ่อน ในแต่ละทรีทเมนต์จำนวน 30 โปรโตคอร์ม และ 30 ต้น และทำซ้ำ 2 ครั้ง และวางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (Complete Randomized Design) 13.1.3 การทดสอบนำต้นกล้ากล้วยไม้สกุลสิงโตบางชนิด ออกปลูกเลี้ยงในสภาพแวดล้อมปกติในเรือนทดลอง จะใช้ต้นอ่อนที่มีความสูงประมาณ 3-4 ซม. มีใบประมาณ 2-3ใบ และราก 2-3 ราก จำนวน 100 ต้น ทดสอบ และทำซ้ำ 2 ครั้ง โดยมีการวางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด (Complete Randomized Design)
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :1006 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายธนากร วงษศา บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย80
นางรัตนาภรณ์ จองไพจิตสกุล บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย10
นางสาวปรัชญา ชะอุ่มผล บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย10

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด