รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000353
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำเฉาก๊วยในบรรจุภัณฑ์อ่อนตัว
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The product development of Hsian-tsao (Mesona procumbens Hemsl.) in retort pouch
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :เจลเฉาก๊วย เฉาก๊วยชากังราว การพาสเจอไรส์ การสเตอริไรส์ คุณสมบัติทางรีโอโลยี ค่า F0
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :454000
งบประมาณทั้งโครงการ :227,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2554
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2555
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (ด้านพัฒนาสังคมและวัฒนธรรม)
สาขาวิชาการ :สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :โครงการวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นที่จะศึกษาการยืดอายุการเก็บรักษาเฉาก๊วยพร้อมดื่มให้นานขึ้นและสามารถเก็บเฉาก๊วยโดยไม่ต้องแช่เย็น เพื่อประโยชน์ในการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายในจังหวัดห่างไกลจากกำแพงเพชร หรือเพื่อการส่งออก แต่เนื่องจากน้ำเฉาก๊วยเป็นอาหารที่จัดอยู่ในประเภทที่มีความเป็นกรดต่ำ (low acid food) การที่จะฆ่าเชื้อน้ำเฉาก๊วยจะต้องใช้ความร้อนสูงระดับการสเตอริไรส์ (240-250 o F ) ซึ่งจะมีผลต่อเนื้อสัมผัสของเจล โดยจะทำให้เจลเฉาก๊วยเสียสภาพไป ดังนั้นนอกจากจะทำการฆ่าเชื้อระดับสเตอริไรซ์ผลิตภัณฑ์ดั้งเดิม (แป้งมันสำปะหลัง แป้งท้าวยายม่อม) แล้วยังมีแนวคิดที่จะใช้สารก่อเจลชนิดอื่นที่จะสามารถทดแทนสารก่อเจลเดิมที่อาจจะสามารถทนต่อการใช้ความร้อนในระดับสูงในการฆ่าเชื้อได้ เช่น แป้งดัดแปร เพคติน แอลจีเนต อะการ์ คาราจีแนน โดยจะมีการทดสอบคุณสมบัติทางรีโอโลยีของเจล การหาค่า Fo ของการฆ่าเชื้อ และศึกษาอายุการเก็บรักษาของน้ำเฉาก๊วย
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :6.1 เพื่อศึกษาคุณภาพ และอายุการเก็บรักษาเฉาก๊วยพาสเจอไรส์ 6.2 เพื่อศึกษาคุณภาพทางรีโอโลยีของเจลเฉาก๊วยที่ได้จากสารก่อเจลชนิดต่างๆ คือ แป้งมันสำปะหลังและแป้งท้าวยายม่อม(สารก่อเจลดั้งเดิม) แป้งดัดแปร เพคติน แอลจีเนต อะการ์ และคาราจีแนน 6.3 เพื่อหาค่า Fo ของการสเตอริไรซ์เฉาก๊วยชากังราวจากสารก่อเจลชนิดต่างๆ 6.4 เพื่อศึกษาคุณภาพทางด้านกายภาพ เคมี ชีววิทยา และทดสอบการยอมรับของผู้บริโภคของเฉาก๊วยชากังราวสเตอริไรซ์ก่อเจลชนิดต่างๆ 6.5 เพื่อศึกษาอายุการเก็บรักษาเฉาก๊วยชากังราวสเตอริไรซ์
ขอบเขตของโครงการ :โครงงานวิจัยนี้ แบ่งออกเป็น 4 ตอน คือ ตอนที่ 1 ศึกษาสภาวะการพาสเจอไรส์ และศึกษาคุณภาพทางกายภาพ เคมี ชีววิทยา และอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์น้ำเฉาก๊วยพาสเจอไรส์ ตอนที่ 2 ศึกษาคุณภาพทางรีโอโลยี และการจัดเรียงอนุภาคของคอลลอยด์ระดับโมเลกุล ของเจลเฉาก๊วยที่ได้จากสารก่อเจลชนิดต่างๆ คือ แป้งมันสำปะหลังและแป้งท้าวยายม่อม (สารก่อเจลดั้งเดิม) แป้งดัดแปร เพคติน แอลจีเนต อะการ์ และคาราจีแนน ตอนที่ 3 ศึกษาการหาค่า Fo ของการสเตอริไรซ์น้ำเฉาก๊วย และศึกษาคุณภาพทางกายภาพ เคมี ชีววิทยา การทดสอบทางประสาทสัมผัส ตอนที่ 4 ศึกษาอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์น้ำเฉาก๊วยสเตอริไรส์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :11.1 เผยแพร่องค์ความรู้ให้แก่ผู้ที่สนใจและผู้ประกอบการผลิตน้ำเฉาก๊วยในจังหวัดกำแพงเพชรและจังหวัดใกล้เคียง 11.2 นำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาน้ำเฉาก๊วยสเตอริไรส์ในบรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อนตัวเพื่อการค้าต่อไป 11.3 ได้องค์ความรู้เพื่อใช้เป็นพื้นฐานในงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 11.4 เผยแพร่วารสารวิจัยในระดับประเทศและนานาประเทศ
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :9.1 เฉาก๊วย ต้นเฉาก๊วยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mesona chinensis Bentham หรือ M.elegans Hayata หรือ M.procumbens Hemsley อยู่ในวงศ์ Labiatae พืชในวงศ์นี้ที่รู้จักกันดีคือ สะระแหน่ โหระพา แมงลักกระเพรา และหญ้าหนวดแมว เป็นต้น ต้นเฉาก๊วยเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งของประเทศจีน มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน เช่น มณฑลกวางตุ้ง กวางสี ยูนาน และมีชื่อเรียกตามภาษาท้องถิ่นหลายชื่อ เช่น เหรียนฝ่นฉ่าว เซียนฉ่าว เซียนหยั้นตุ้ง เฉาก๊วยเป็นพืชล้มลุก เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อยขนาดเล็ก ทรงพุ่มเตี้ยมีลำต้นนอนทอดบนดินคล้ายสะระแหน่ แต่ทรงพุ่มใหญ่กว่า ส่วนยอดตั้งตรงยาว 15-100 เซนติเมตร ลำต้นสี่เหลี่ยมและเมื่อแก่จัดจะเป็นสีน้ำตาลช่วงห่างระหว่างข้อประมาณ 3-5 เซนติเมตร ใบเป็นใบเดี่ยวมี 2 ใบ ต่อ 1 ข้อ ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ใบสีเขียวอ่อนและเขียวเข้มเมื่อแก่ ใบเป็นรูปไข่ปลายใบแหลมขอบใบหยักเหมือนฟันเลื่อยยาว 2-5 เซนติเมตร มีขนละเอียดขาวใสขึ้นอยู่ทั่วทั้งใบและลำต้น เมื่อนำใบมาขยี้จะมีเมือกลื่นๆใสๆติดมือ ออกดอกเป็นช่อแบบเชิงลดยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร แต่ลละช่อจะประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมากลักษณะคล้ายดอกแมงลัก หรือกระเพรา คือ มีดอกขนาดเล็ก ก้านดอกยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร กลีบดอกสองกลีบ สีม่วงอ่อนยาว 2.5 มิลลิเมตร มี 4 เกศรตัวผู้ และ 1 เกสรตัวเมียออกดอกปลายฤดูใบไม้ร่วง ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่ปลูกได้ดีตามเชิงเขา ริมห้วย หนอง คลอง บึง ชอบอากาศค่อนข้างชื้น อยู่ได้ในที่กลางแจ้งและที่มีแดดรำไร ขยายพันธุ์ได้ง่ายและรวดเร็ว สามารถเก็บเกี่ยวมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งต้น โดยนำมาต้มกับน้ำจนน้ำมีสีออกดำ ซึ่งมีรสจืดๆ และเย็นชุ่มคอ แก้ร้อนใน ไข้หวัด เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และตับอักเสบ (อ้างอิง) ในเฉาก๊วยมีสารที่สำคัญคือ แทนนิน และเฮมิเซลลูโลส แทนนินทำให้เกิดสีดำซึ่งเป็นลักษณะของเฉาก๊วย ส่วนเฮมิเซลลูโลสทำให้เกิดเจลขึ้น (Fortune Stars. 2553) (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. 2553)
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :13.1 วิธีการดำเนินการวิจัย โครงงานวิจัยนี้ แบ่งออกเป็น 4 ตอน คือ ตอนที่ 1 ศึกษาคุณภาพทางกายภาพ เคมี ชีววิทยา และอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์น้ำเฉาก๊วยพาสเจอไรส์ ตอนที่ 2 ศึกษาคุณภาพทางรีโอโลยี และการจัดเรียงอนุภาคของคอลลอยด์ระดับโมเลกุล ของเจลเฉาก๊วยที่ได้จากสารก่อเจลชนิดต่างๆ คือ แป้งมันสำปะหลังและแป้งท้าวยายม่อม (สารก่อเจลดั้งเดิม) แป้งดัดแปร เพคติน แอลจีเนต อะการ์ และคาราจีแนน ตอนที่ 3 ศึกษาการหาค่า F0 ของการสเตอริไรซ์น้ำเฉาก๊วย โดยใช้สารก่อเจลชนิดต่างๆและศึกษาคุณภาพทางกายภาพ เคมี ชีววิทยา การทดสอบทางประสาทสัมผัสของน้ำเฉาก๊วยสเตอริไรส์ ตอนที่ 4 ศึกษาอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยสเตอริไรซ์ 13.1.1 ตอนที่ 1 ศึกษาคุณภาพทางกายภาพ เคมี ชีววิทยา และอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์น้ำเฉาก๊วยพาสเจอไรส์ 13.1.1.1 วัตถุดิบ ใช้เฉาก๊วยแห้งจากตลาดศูนย์ในอำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร 13.1.1.2 วิธีการเตรียม การเตรียมตัวอย่างน้ำเฉาก๊วย 1) ใช้ต้นเฉาก๊วยแห้งมาล้างน้ำให้สะอาดเพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอมอื่นๆออก 2) นำไปต้มในน้ำโดยมีสัดส่วนเฉาก๊วยแห้ง 1 ส่วน ต่อน้ำ (ซึ่งมีส่วนผสมของสารละลายโซเดียมไบคาร์บอเนตความเข้มข้นร้อยละ 0.045-0.25) 20-80 ส่วน (เมื่อเคี่ยวเสร็จจะมีปริมาณน้ำที่เหลือในน้ำเฉาก๊วยก่อนนำไปทำให้เกิดเจลมีประมาณร้อยละ 25-75 ของน้ำที่ใช้สกัด) 3) ต้มด้วยไฟปานกลาง (80 องศาเซลเซียส) ใช้เวลาเคี่ยวประมาณ 3-6 ชั่วโมง หรือจนได้น้ำเฉาก๊วยที่มีลักษณะเมือกลื่น สีดำใสและเข้มข้นได้ที่ 4) นวดต้นเฉาก๊วยหลายๆครั้ง เพื่อให้เมือกลื่นๆหลุดออกจากต้นให้มากที่สุด และคั้นให้น้ำออกมามากที่สุดเพื่อจะได้มีความดำและความเหนียวมากๆ 5) กรองซ้ำด้วยผ้าขาวบาง ตักใส่ภาชนะทิ้งไว้ให้เย็น จะได้น้ำเคี่ยวเฉาก๊วยที่เหนียว 6) เติมแป้งมันสำปะหลัง (ปริมาณการใช้อยู่ระหว่างร้อยละ 1-6.7 ของปริมาณน้ำเฉาก๊วย) ลงไปเมื่อต้มเฉาก๊วยเสร็จแล้ว ทำได้โดยนำน้ำเฉาก๊วยที่สกัดได้มาต้มพอร้อนได้ที่จึงเทแป้งที่ละลายน้ำลงไปกวนต่ออีกประมาณ 15 นาที จนขึ้นเงา แป้งไม่เป็นลูกและไม่ติดพายนำมาเทใส่พิมพ์ทิ้งไว้ให้เย็น 7) เมื่อเกิดเจลของเฉาก๊วยแล้วขูดเป็นเส้นเล็กๆ ใส่ลงไปในถุงพลาสติกทนร้อนที่ปราศจากเชื้อเติมน้ำเชื่อม (ปริมาณน้ำตาลประมาณ 15 o Brix) ปิดผนึกถุงพลาสติกโดยการใช้เครื่องปิดผนึก 8) นำน้ำเฉาก๊วยที่ได้ทำการพาสเจอไรส์โดยใช้หม้อต้มน้ำที่อุณหภูมิ 71.5 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 15 วินาที นำน้ำเฉาก๊วยที่ได้ไปตรวจสอบคุณภาพด้านกายภาพ เคมี และจุลชีววิทยาต่อไป 13.1.1.3 การตรวจสอบคุณภาพน้ำเฉาก๊วยพาสเจอไรส์ นำเฉาก๊วยที่ผ่าการพาสเจอไรส์แล้วมาปั่นให้ละเอียดด้วยเครื่องปั่นนำมาวิเคราะห์คุณภาพทางการภาพ เคมี และจุลชีววิทยา ดังนี้ - ทางกายภาพ ค่าสี โดยใช้เครื่องวัดสี - ทางเคมี ค่า pH โดยใช้เครื่องวัด pH meter - จุลชีววิทยา (1) TPC (BAM, 2000) (2) Staphylococcus aereus (BAM, 2000) (3) E.coli โดยวิธี MPN(BAM, 2000) (4) Yeast & Mold (BAM, 2000) 13.1.1.4 ศึกษาอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์น้ำเฉาก๊วยพาสเจอไรส์ นำน้ำเฉาก๊วยพาสเจอไรส์ที่บรรจุถุงพลาสติกในข้อ 13.1.1.2 ศึกษาอายุการเก็บรักษาโดยวางแผนการทดลองการเก็บรักษาเป็น 2x4 factorial in CRD โดยมีปัจจัยแรก คืออุณหภูมิในการเก็บรักษาเป็นอุณหภูมิห้อง 30 องศาเซลเซียสและอุณหภูมิแช่เย็นที่ 10 องศาเซลเซียส และปัจจัยที่สองคือระยะเวลาในการเก็บเป็น 2 4 6 และ 8 วัน นำมาวิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพ เคมี และจุลชีววิทยา ดังนี้ - ทางกายภาพ ค่าสี โดยใช้เครื่องวัดสี - ทางเคมี ค่า pH โดยใช้เครื่องวัด pH meter - จุลชีววิทยา (1) TPC (BAM, 2000) (2) Staphylococcus aereus (BAM, 2000) (3) E.coli โดยวิธี MPN(BAM, 2000) (4) Yeast & Mold (BAM, 2000) 13.1.2 ตอนที่ 2 ศึกษาคุณภาพทางรีโอโลยี และการจัดเรียงอนุภาคของคอลลอยด์ระดับโมเลกุล ของเจลเฉาก๊วยที่ได้จากสารก่อเจลชนิดต่างๆ วางแผนการทดลองแบบ 52 factorial in CRD โดยแปรผันชนิดของสารเก่อเจล 5 ชนิด คือ แป้งมันสำปะหลัง แป้งดัดแปร เพคติน แอลจีเนต อะการ์ และคาราจีแนน และปัจจัยที่สองแปรผันความเข้มข้นของสารก่อเจล 2 ระดับ คือร้อยละ 2 และ 6 13.1.2.1 การเตรียมตัวอย่างเจลเฉาก๊วย เตรียมตัวอย่างเจลเฉาก๊วยเหมือนกับข้อที่ 13.1.1.2 ตั้งแต่ข้อ 1) ถึงข้อ 6) แต่ให้เปลี่ยนสารก่อเจลจากแป้งมันสำปะหลังเป็นแป้งดัดแปร เพคติน แอลจีเนต อะการ์ และคาราจีแนน 13.1.2.2 นำเจลเฉาก๊วยมาทำการวิเคราะห์คุณภาพของเจลทางกายภาพ ทางเคมี ดังนี้ - ทางกายภาพ (1) ค่าสี โดยใช้เครื่องวัดสี (2) เนื้อสัมผัส โดยใช้เครื่อง texture analyzer (3) คุณสมบัติทางรีโอโลยี โดยใช้เครื่อง Rheometer (4) การจัดเรียงอนุภาคของคอยลอยด์ระดับโมเลกุล โดยใช้กล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอน - ทางเคมี (1) ค่า aw โดยเครื่องวัด aw (2) ค่าความชื้น โดยใช้ลมร้อน (AOAC, 2000) 13.1.3 ตอนที่ 3 ศึกษาการหาค่า F0 ของการสเตอริไรซ์น้ำเฉาก๊วย และศึกษาคุณภาพทางกายภาพ เคมี ชีววิทยา การทดสอบทางประสาทสัมผัส 13.1.3.1 การเตรียมตัวอย่างนำน้ำเฉาก๊วย นำเจลเฉาก๊วยในข้อ 13.1.2 ทั้ง 12 การทดลองขูดเป็นเส้นเล็กๆ ใส่ลงไปในบรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อนตัว (Retort pouch) เติมน้ำเชื่อม (ปริมาณน้ำตาลประมาณ 15 o Brix) ปิดผนึกถุงพลาสติกโดยการใช้เครื่องปิดผนึก ตรวจสอบคุณภาพด้านกายภาพ เคมี และจุลชีววิทยาต่อไป 13.1.3.2 นำน้ำเฉาก๊วยที่ได้มาทำการสเตอริไรส์โดยใช้ retort ทำการหาค่า F0 13.1.3.3 นำน้ำเฉาก๊วยสเตอริไรซ์ทุกการทดลอง (12 การทดลอง) มาวิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพ เคมี และจุลชีววิทยา ดังนี้ - ทางกายภาพ ค่าสี โดยใช้เครื่องวัดสี - ทางเคมี ค่า pH โดยใช้เครื่องวัด pH meter - ทางชีววิทยาตามประกาศของประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 301) พ.ศ. 2549 เรื่อง อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ฉบับที่ 4) 13.1.3.3 การทดสอบทางประสาทสัมผัส การทดสอบประสาทสัมผัสโดยการนำน้ำเฉาก๊วยสเตอริไรซ์ทุกการทดลอง (12 การทดลอง) มาทำการทดสอบทางประสาทสัมผัสด้วยวิธี Hedonic Scaling Test 9 point โดยวางแผนการทดสอบชิมแบบ RCBD ใช้จำนวนผู้บริโภคในการทดสอบ 50 คน เพื่อหาสูตรที่ดีที่สุดเพื่อนำไปศึกษาอายุการเก็บรักษา 13.1.4 ตอนที่ 4 การศึกษาอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยสเตอริไรซ์ การศึกษาอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยสเตอริไรซ์โดยการใช้ตัวอย่างผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยสเตอริไรซ์การทดลองที่ดีที่สุดในข้อ 13.1.3.3 (การทดสอบทางประสาทสัมผัส) มาทำการศึกษาอายุการเก็บรักษาโดยวางแผนการทดลองการเก็บรักษาเป็น 1x4 in CRD โดยมีปัจจัยแรก คืออุณหภูมิในการเก็บรักษาเป็นอุณหภูมิห้อง 30 องศาเซลเซียส และปัจจัยที่สองคือระยะเวลาในการเก็บเป็น 1 2 3 และ 4 เดือน นำมาวิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพ เคมี และจุลชีววิทยา ดังนี้ - ทางกายภาพ ค่าสี โดยใช้เครื่องวัดสี - ทางเคมี ค่า pH โดยใช้เครื่องวัด pH meter - จุลชีววิทยา ตามประกาศของประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 301) พ.ศ. 2549 เรื่อง อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ฉบับที่ 4) 13.2 สถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล 13.2.1 โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร 13.2.2 ศูนย์ส่งเสริมและตรวจสอบการผลิตตามมาตรฐานความปลอดภัยทางอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร (การวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยา) 13.2.3 โรงงานเฉาก๊วยชากังราว อ.เมือง จ.กำแพงเพชร (วัตถุดิบ) 13.2.4 คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ต.แม่เหี้ยะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ (การหาค่า F0 และการวิเครราะห์ทางรีโอโลยี) 14. ระยะเวลาทำการวิจัย และแผนการดำเนินงานตลอดโครงการวิจัย 14.1 ระยะเวลาในการทำวิจัย 1 ปี 14.2 แผนการดำเนินงานตลอดโครงการวิจัย ดังนี้
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :6281 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายแดนชัย เครื่องเงิน บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย80
นายบุณยกฤต รัตนพันธุ์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย20

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด