รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000354
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :ประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์ของแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดกำแพงเพชร
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Efficiency of Logistics Management for Tourism Resource in Kamphaengphet Province.
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :แหล่งท่องเที่ยว หมายถึง สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งสามารถแบ่งเป็นประเภทได้ดังนี้ คือ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และ แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะวิทยาการจัดการ > สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :498700
งบประมาณทั้งโครงการ :498,700.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2554
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2555
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (ด้านพัฒนาสังคมและวัฒนธรรม)
สาขาวิชาการ :สาขาสังคมวิทยา
กลุ่มวิชาการ :สังคมวิทยา
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ปัจจุบันนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดกำแพงเพชรไม่ได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะการพักผ่อนหย่อนใจและเดินทางท่องเที่ยวไปในที่ต่างๆ เท่านั้น แต่ต้องการการเดินทางท่องเที่ยวที่มีคุณภาพด้วย ดังนั้นการท่องเที่ยวที่ดีมีคุณภาพจึงต้องมีการจัดการขั้นตอนต่างๆ ในห่วงโซ่อุปทานของการท่องเที่ยว (Tourism Supply Chain) โดยการประยุกต์ใช้ศาสตร์ของโลจิสติกส์ เพื่อบริหารจัดการในด้านการเคลื่อนย้าย การไหลเวียน และความเชื่อมโยงสินค้าและบริการต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวให้มีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านเวลาและต้นทุน เพื่อให้เกิดความพึงพอใจสูงสุดต่อนักท่องเที่ยว ซึ่งจะเป็นส่วนเพิ่มและสนับสนุนศักยภาพในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยว การจัดการการท่องเที่ยวจึงจำเป็นต้องกระทำเป็นองค์รวม มีการบูรณาการทั้งภาครัฐและภาคเอกชน การจัดการโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวจึงมีความจำเป็นที่ต้องศึกษาประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์ของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดกำแพงเพชร เพื่อเพิ่มและสนับสนุนศักยภาพในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดกำแพงเพชรให้มากยิ่งขึ้น
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :6.1 เพื่อศึกษาระบบการจัดการโลจิสติกส์ของแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดกำแพงเพชร 6.2 เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการโลจิสติกส์ของแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดกำแพงเพชร 6.3 เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์ของแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดกำแพงเพชร
ขอบเขตของโครงการ :7.1 ขอบเขตด้านประชากร นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดกำแพงเพชร ทั้ง 25 แห่ง และภาคีที่เกี่ยวข้อง 5 ส่วน ดังนี้ สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร สำนักงานขนส่งจังหวัด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุโขทัย หน่วยงานภาครัฐ/ผู้กำกับดูแลแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ ซึ่งเป็นผู้ที่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับระบบการจัดการโลจิสติกส์ของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดกำแพงเพชรได้ 7.2 ขอบเขตด้านเนื้อหา ประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์ ของแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดกำแพงเพชร ด้านการบริการลูกค้า ด้านการขนส่ง ด้านการติดต่อสื่อสาร และด้านความปลอดภัย 7.3 ขอบเขตด้านตัวแปร ในการศึกษาประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์ของแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดกำแพงเพชรมี ตัวแปรที่ใช้ศึกษาดังนี้ ตัวแปรอิสระ คือ ประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์ของแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดกำแพงเพชร ตัวแปรตาม คือ แหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดกำแพงเพชร
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. เป็นแนวทางพัฒนาระบบการจัดการโลจิสติกส์ของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดกำแพงเพชร 2. ยกระดับขีดความสามารถของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดกำแพงเพชร 3. มีส่วนในการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ธุรกิจท่องเที่ยว
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :จากการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง คณะผู้วิจัยได้ค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้ 1. แนวความคิดเกี่ยวกับการท่องเที่ยว 2. แนวความคิดเกี่ยวกับจังหวัดกำแพงเพชร 3. แนวความคิดเกี่ยวกับประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์ 4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :การคัดเลือกประเด็นปัญหาการวิจัยเพื่อให้ได้ตรงกับความต้องการแก้ปัญหาและสอดคล้องกับนโยบายของชาติ
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :โดยทำการศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารวิชาการที่มีเก็บรวบรวมไว้แล้ว รวมทั้งผลงานการวิจัย นิตยสาร วารสารวิชาการ หนังสือพิมพ์ วิทยานิพนธ์ รายงาน การค้นคว้าวิจัย website ต่างๆ โดยเก็บรวบรวมจากสำนักหอสมุดของมหาวิทยาลัยต่างๆ ห้องสมุดการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และทาง internet 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการโลจิสติกส์ของแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดกำแพงเพชร และเพื่อศึกษาประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์ของแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดกำแพงเพชร 2.1 วิธีการดำเนินการวิจัยโดยการใช้แบบสอบถาม 2.1.1 ประชากร คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 25 แห่ง 2.1.2 ขนาดกลุ่มตัวอย่าง นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดกำแพงเพชร เนื่องจากไม่มีหน่วยงานใดได้มีการจัดเก็บสถิติของนักท่องเที่ยวจังหวัดกำแพงเพชร ดังนั้น ผู้วิจัย จึงได้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Taro Yamane ตามจำนวนประชากรสูงสุดของตารางจะได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างของผู้บริโภค จำนวน 400 คน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ค่าความคลาดเคลื่อนร้อยละ 5 และทำการสุ่มตัวอย่างแบบไม่มีความน่าจะเป็นด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (สิน พันธุ์พินิจ, 2547, หน้า 135) 2.1.3 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม 2.1.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้ข้อมูลปฐมภูมิ โดยผู้ให้ข้อมูล คือ นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 400 คน 2.1.5 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ในรูปของค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประกอบคำอธิบายจากตาราง และสถิติอิงพารามิเตอร์ (Parametric Statistics) ในรูปการทดสอบค่า T – test และ F – test 2.2 วิธีการดำเนินการวิจัยโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก 2.2.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ภาคีที่เกี่ยวข้อง 5 ส่วน ดังนี้ สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร สำนักงานขนส่งจังหวัด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุโขทัย หน่วยงานภาครัฐ/ผู้กำกับดูแลแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ ซึ่งเป็นผู้ที่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับระบบการจัดการโลจิสติกส์ของแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดกำแพงเพชรได้ จำนวน 103 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง ดังนี้ สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 1 คน สำนักงานขนส่งจังหวัด จำนวน 1 คน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุโขทัย จำนวน 1 คน หน่วยงานภาครัฐ/ผู้กำกับดูแลแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ จำนวน 25 คน (แหล่งท่องเที่ยวจำนวน 25 แห่ง แห่งละ 1 คน) ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ จำนวน 75 คน (แหล่งท่องเที่ยวจำนวน 25 แห่ง แห่งละ 3 คน) 2.2.2 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโคร่งสร้างตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 และ 3 2.2.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้ข้อมูลปฐมภูมิ โดยผู้ให้ข้อมูล คือ ภาคีที่เกี่ยวข้อง 5 ส่วน จำนวน 103 คน โดยการสมภาษณ์เชิงลึกตามประเด็นวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 และ 3 2.2.4 การวิเคราะห์ข้อมูล นำข้อมูลที่ได้จากการสมภาษณ์เชิงลึกมาวิเคราะห์เพื่อนำมาเขียนเป็นรายงานผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 และ 3 2.3 วิธีการดำเนินการวิจัยโดยการสนทนากลุ่ม 2.3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนรอบๆ บริเวณแหล่งท่องเที่ยวจำนวน 25 แห่ง แห่งละ 10 คน จำนวน 250 คน และภาคีส่วนร่วมอีก 3 ส่วน คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการ ภาคีละ 10 คน จำนวน 30 คน รวมทั้งหมด 280 คนโดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง ซึ่งต้องเป็นผู้ที่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับระบบการจัดการโลจิสติกส์ของแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ได้ ตามแหล่งท่องเที่ยว ดังนี้ 1. อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ 2. บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง (บึงสาป) 3. ศูนย์วัฒนธรรมชาวเขา 4. อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร 5. อุทยานแห่งชาติคลองลาน 6. พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ 7. ศูนย์ส่งเสริมหัตถกรรมเครื่องเงินชาวเขา 8. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร 9. ศูนย์แปรรูปผลิตผลทางการเกษตรบ้านบ่อสามแสน 10. เมืองไตรตรึงษ์ 11. วัดป่าเขาเขียว (หลวงพ่อถัง) 12. หอไตรวัดคูยาง 13. หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์ 14. เมืองโบราณที่ตำบลคณฑี 15. ตลาดกล้วยไข่ 16. บ้านห้าง ร.5 17. ศาลหลักเมืองกำแพงเพชร 18. บริษัทเบียร์ไทย (1991) จำกัด (มหาชน) 19. ศาลพระอิศวร 20. สิริจิตอุทยาน 21. อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า 22. พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดปราสาท 23. อ่างเก็บน้ำคลองน้ำแดงเพื่อออการเกษตร 24. แหล่งน้ำมันสิริกิติ์ 25. หลวงพ่อเพชรวัดบาง 2.3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสนทนากลุ่ม (Focus Group) โดยประเด็นการสนทนากลุ่มตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 และ 3 2.3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้ข้อมูลปฐมภูมิ โดยผู้ให้ข้อมูล คือ ประชาชนรอบๆ บริเวณแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดกำแพงเพชรจำนวน 25 แห่ง แห่งละ 10 คน และภาคี 3 ส่วน ภาคีละ 10 คน รวมทั้งหมด 280 คน โดยการสนทนากลุ่มตามประเด็นวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 และ 3 2.3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล นำข้อมูลที่ได้จากการสนทนากลุ่มมาวิเคราะห์เพื่อนำมาเขียนเป็นรายงานผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 และ 3 14. ระยะเวลาที่ทำการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง และหรือเก็บข้อมูล 1 ตุลาคม 2554 – 30 กันยายน 2555 จังหวัดกำแพงเพชร
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :1545 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาววาสนา จรูญศรีโชติกำจร บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย25
นายการันต์ เจริญสุวรรณ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย25
นางสาวกนิษฐา ศรีภิรมย์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย25
นางสาวพัชรมณฑ์ อ่อนเชด บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย25

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด