รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000355
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :รูปแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างเป็นธรรม: กรณีศึกษาวัดวังพระธาตุ ตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Format of Tourism Fairly Management: Case Study Wangphrathat Tample, Thatum Sub District, Moeng District, Kampaeng-Phet Province.
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :-
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะวิทยาการจัดการ
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :240000
งบประมาณทั้งโครงการ :240,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2554
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2555
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (ด้านพัฒนาสังคมและวัฒนธรรม)
สาขาวิชาการ :สาขาเศรษฐศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :บริหารธุรกิจ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :การท่องเที่ยวมีบทบาทต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ทางด้านเศรษฐกิจนั้นการ ท่องเที่ยวสามารถทำรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศมาให้แก่ประเทศชาติเป็นจำนวนมาก ช่วยในการสร้างงานและกระจายความเจริญออกไปสู่ส่วนภูมิภาคได้เป็นอย่างดี ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ได้กำหนดให้การท่องเที่ยวเป็นยุทธศาสตร์ในการ พัฒนาประเทศ พัฒนาจังหวัดและพัฒนาท้องถิ่น เนื่องจากประเทศไทยมีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่หลากหลาย สวยงามและทรงคุณค่า ประกอบกับคนไทยมีอัธยาศัยที่ดีส่งผลให้ในแต่ละปีมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเที่ยวประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยเติบโตอย่างรวดเร็ว จังหวัดกำแพงเพชรเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวสูง เนื่องจากเป็นจังหวัดที่ มีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีความโดดเด่นและหลากหลายไม่ว่าจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม วัดวังพระธาตุ ตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นสถานที่ท่องเที่ยวหนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชรที่มีประวัติความเป็นมา เรื่องเล่าที่น่าสนใจ อนึ่งนอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีโบราณสถานที่มีลักษณะโดดเด่น คือ เจดีย์ประธานทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ (ทรงดอกบัว) ศิลปะสุโขทัย ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สภาพค่อนข้างสมบูรณ์ โดยเห็นรูปทรงขององค์เจดีย์ได้ครบถ้วน เป็นเจดีย์ทรงดอกบัว ที่นับว่าใหญ่ที่สุดในเมืองกําแพงเพชร ด้านหน้าพระเจดีย์ มีพระวิหารฐานก่อด้วยอิฐ มีพระประธานประดิษฐานบนฐานชุกชี ด้านข้างพระอุโบสถมี ศาลท้าวแสนปม ซึ่งมีเรื่องราวในตำนานพื้นบ้านโบราณ ว่าเป็นผู้ก่อตั้ง เมืองเทพนคร จากลักษณะอันโดดเด่น ดังกล่าว ส่งผลให้มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไปเที่ยวชมวัดวัง พระธาตุเป็นจำนวนมาก แต่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวของวัดวังพระธาตุ เช่น ผู้ประกอบการ และประชาชนท้องถิ่นในบริเวณวัดวังพระธาตุ กลับได้รับผลประโยชน์น้อยมากจากการที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเที่ยว เนื่องจากการบริหารจัดการวัดวังพระธาตุ ส่วนใหญ่นั้นขึ้นอยู่กับหน่วยงานภาครัฐ กล่าวคือ หน่วยงานภาครัฐมีบทบาทหลักในการบริหารจัดการการท่องเที่ยว และการที่การบริหารการท่องเที่ยวของวัดวังพระธาตุส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของภาครัฐนั้น ส่งผลให้การท่องเที่ยวมิได้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างแท้จริงเพราะการบริหารใดก็ตามที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของภาครัฐเพียงอย่างเดียวจะมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ ด้านบุคลากรและด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารงาน ดังนั้น หากจะให้การท่องเที่ยวเข้ามาเป็นเครื่องมือและยุทธศาสตร์ในการสร้างรายได้ให้กับจังหวัด ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและประชาชนท้องถิ่นในแหล่งท่องเที่ยวอย่างแท้จริง จะต้องมีการบริหารการท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีกรอบทิศทางที่ชัดเจน เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวของจังหวัดได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวรวมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนหรือชุมชนท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมเพื่อก่อให้เกิดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนต่อไป นอกจากนี้ ควรมีการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างเป็นธรรมด้วย เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อภาคีทุกภาคส่วนอย่างเท่าเทียมกัน ดังคำกล่าวของประเวศ วะสี (2553, online) ที่กล่าวไว้ว่า “ความเป็นธรรมเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดต้องร่วมกันสร้าง ความเป็นธรรมคือสิ่งสูงสุดที่จะร่วมกันได้ ไม่มีใครไม่ต้องการความเป็นธรรม แต่ถ้าระบบขาดความเป็นธรรม พฤติกรรมความไม่เป็นธรรมก็จะปรากฏในบุคคล องค์กร สถาบัน การขับเคลื่อนเรื่องความเป็นธรรมจะทำให้ทุกส่วนของสังคมขยับปรับเปลี่ยนไปหาจุดลงตัวใหม่ จุดลงตัวใหม่จะหาไม่พบในสิ่งอื่นๆ นอกจากความเป็นธรรม” และจากคำกล่าวของ ประเสริฐ บัณฑิศักดิ์ (2553, online) กล่าวไว้ว่า “การบริหารจัดการที่ดีในทุกเรื่องนั้นต้องมีการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ซึ่งมีหลักสำคัญ 6 หลักการ ได้แก่ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า ซึ่งใช้เป็นหลักการทำให้การบริหารงานต่าง ๆ เกิดความสมดุลระหว่างฝ่ายบริหาร ฝ่ายปฏิบัติ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล เป็นวิธีการที่ดีที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการองค์กรหรือประเทศให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณธรรม โปร่งใส ยุติธรรมและตรวจสอบได้และมีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาของสังคมชุมชนท้องถิ่น นำมาซึ่งความเจริญในด้านต่าง ๆ เพื่ออำนวยประโยชน์ต่อสังคม ชุมชนท้องถิ่นและประเทศชาติต่อไป” เช่นเดียวกับการบริหารจัดการการท่องเที่ยว ควรมีการบริหารจัดการอย่างเป็นธรรมเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์และผลดีต่อทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อให้เกิดความเป็นธรรมกับประชาชนท้องถิ่นในแหล่งท่องเที่ยว แต่การบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างเป็นธรรม ยังไม่มีนักวิจัยท่านใดทำการศึกษาไว้ว่ามีรูปแบบอย่างไร จากความสำคัญที่กล่าวมาทั้งหมด จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการศึกษารูปแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างเป็นธรรมของวัดวังพระธาตุ ตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งจะทำให้การบริหารจัดการการท่องเที่ยวก่อให้เกิดประโยชน์และผลดีต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนท้องถิ่น จังหวัด และประเทศ นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนต่อไป
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :6.1 เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวของวัดวังพระธาตุ ตำบล ไตรตรึงษ์ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 6.2 เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวต่อรูปแบบการ บริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างเป็นธรรมของวัดวังพระธาตุ ตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 6.3 เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างเป็นธรรมของวัด วังพระธาตุ ตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
ขอบเขตของโครงการ :การดำเนินการวิจัยครั้งนี้ มุ่งเน้นศึกษาศึกษารูปแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยว ของวัดวังพระธาตุ ตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :ผลสำเร็จในระดับ P หมายถึง ผลสำเร็จเบื้องต้น (preliminary results) ใน ระดับหนึ่งที่จะออกมาเป็นรูปธรรม
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :การทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในครั้งนี้ประกอบด้วย ความหมายและ ความสำคัญของการท่องเที่ยว การบริหารจัดการการท่องเที่ยว การบริหารจัดการที่เป็นธรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยมีรายละเอียดดังนี้ ความหมายและความสำคัญของการท่องเที่ยว นักวิชาการได้ให้ความหมายของการท่องเที่ยวไว้ ดังนี้ สมบัติ กาญจนกิจ (2544, หน้า 83-89) การท่องเที่ยว (Tourism) เป็นคำที่มีความหมายกว้างขวาง มิได้หมายเฉพาะเพียงการเดินทางเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ หรือเพื่อความสนุกสนานบันเทิงเริงรมย์เท่านั้น การเดินทางเพื่อการประชุมสัมมนา เพื่อศึกษาหาความรู้ เพื่อการกีฬา ตลอดจนการเยี่ยมญาติพี่น้องก็นับว่าเป็นการท่องเที่ยวทั้งสิ้น แต่ความหมายของการท่องเที่ยวในหลักการแล้วอาจจะกำหนดได้โดยเงื่อนไขสามประการ ดังต่อไปนี้ 1. การเดินทางจากที่อยู่อาศัยปกติไปยังที่อื่นเป็นการชั่วคราว (temporary) 2. การเดินทางด้วยความสมัครใจ (voluntary) 3. การเดินทางด้วยวัตถุประสงค์ใด ๆ ก็ตามที่ไม่ใช่เพื่อการประกอบอาชีพหรือ หารายได้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (2544, หน้า 15) การท่องเที่ยว หมายถึง การ เดินทางเพื่อผ่อนคลายความเครียด แสวงหาประสบการณ์แปลกใหม่ โดยมีเงื่อนไขว่าการเดินทางนั้น เป็นการเดินทางเพียงชั่วคราว ผู้เดินทางจะต้องไม่ถูกบังคับให้เดินทาง สุวัฒน์ จุธากรณ์ และจริญญา เจริญสุกใส (2544, หน้า 72) การท่องเที่ยว หมายถึง กิจกรรมใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหลของการเดินทางของบุคคลที่จากที่อยู่อาศัยปกติไปยังที่อื่นเป็นการชั่วคราว เพื่อวัตถุประสงค์ใด ๆ ที่ไม่ใช่เพื่อการหารายได้ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวก่อให้เกิดปรากฏการณ์ และความสัมพันธ์ที่เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่เดินทาง (นักท่องเที่ยว หรือผู้มาเยือน) ธุรกิจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ผลิตสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว ภาครัฐบาลที่ดูแลการท่องเที่ยว และชุมชนในพื้นที่ท่องเที่ยว ปาณิดล นิยมค้า (2544) กล่าวว่า การท่องเที่ยวเป็นการสมัครใจเดินทางจากที่อยู่อาศัยของตนเพื่อเที่ยวชมทัศนศึกษา หรือร่วมกิจกรรม ณ สถานที่ต่าง ๆ โดยมีกำหนดระยะเวลาไปกลับที่ค่อนข้างแน่นอน ซึ่งแม้ว่าจะไปเพื่อทำธุรกิจ หรือหารายได้ด้วย น่าจะนับได้ว่าเป็นการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวด้วยเช่นกัน เพราะเหตุผลสนับสนุนที่ว่านักธุรกิจผู้หารายได้ที่แวะเที่ยวชม หรือร่วมกิจกรรม ณ สถานที่ท่องเที่ยวในขณะนั้น ย่อมจะเป็นส่วนหนึ่งของการท่องเที่ยวไปโดยปริยาย องค์การสหประชาชาติ (อ้างถึงในสำนักพัฒนาการท่องเที่ยวกระทรวงการ ท่องเที่ยวและกีฬา, 2546, หน้า 14) ได้กำหนดความหมายของการท่องเที่ยว ในการประชุมว่า ด้วยการเดินทางและท่องเที่ยว ณ กรุงโรม ว่า “การท่องเที่ยว หมายถึง กิจกรมที่มีเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ประการ 1. เป็นการเดินทางจากที่อยู่อาศัยปกติไปยังที่อื่นเป็นการชั่วคราว 2. เป็นการเดินทางด้วยความสมัครใจ 3. เป็นการเดินทางด้วยวัตถุประสงค์ใด ๆ ก็ตามที่ มิใช่เพื่อการประกอบอาชีพ หรือหารายได้ สมยศ มะลิลา (2546, หน้า 11) กล่าวว่า การท่องเที่ยว หมายถึง กิจกรรมทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางท่องเที่ยวซึ่งเกิดจากนักท่องเที่ยว ผู้ประกอบธุรกิจและผู้เป็นเจ้าของแหล่งท่องเที่ยว ในกระบวนการดึงดูดใจและการต้อนรับผู้มาเยือน แม็ก อินทอสร์และโกลเนอร์ (Mc Intosh and Goeldner, 1990) การท่องเที่ยว หมายถึง ผลรวมของปรากฏการณ์ต่าง ๆ และความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักท่องเที่ยวกับธุรกิจและบริการต่าง ๆ รวมทั้งกับรัฐบาลประเทศเจ้าภาพและประชาชนในท้องถิ่นซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องอยู่ในกิจกรรมหรือกระบวนการในการดึงดูด ด้วยการให้การต้อนรับที่อบอุ่น เปี่ยมไมตรีจิตแก่นักท่องเที่ยวหรือผู้มาเยือน โกลเนอร์ ชาเลอร์ (Goeldner, Charles R., 2006, p.5) การท่องเที่ยว หมายถึง กระบวนการกิจกรรมและผลลัพธ์อันเกิดจากความสัมพันธ์และการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างนักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว รัฐบาล ชุมชนและสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการดึงดูดและการต้อนรับผู้มาเยือน เวเวอร์ เดวิท (Weaver, David B., 2000, p.3) การท่องเที่ยว หมายถึง ผลรวมของ ปรากฏการณ์ต่าง ๆ และการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างนักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการ รัฐบาล ชุมชน ผู้นำท้องถิ่น วิทยาลัยชุมชน มหาวิทยาลัย และองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการดึงดูดการขนส่ง การเป็นเจ้าบ้านด้วยการต้อนรับนักท่องเที่ยวและผู้มาเยือน จากคำนิยามข้างต้น สรุปได้ว่า การท่องเที่ยว หมายถึง กิจกรรมทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางท่องเที่ยวซึ่งเกิดจากนักท่องเที่ยวซึ่งเป็นการเดินทางด้วยความสมัครใจจากที่อยู่อาศัยปกติไปยังที่อื่นเป็นการชั่วคราว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพักผ่อน ศึกษาหาความรู้ สุขภาพ การกีฬาและบันเทิง เป็นต้น รวมถึงกิจกรรมและผลลัพธ์อันเกิดจากความสัมพันธ์และการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างนักท่องเที่ยว ทรัพยากรการท่องเที่ยว ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว รัฐบาล ชุมชนและสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการดึงดูดและการต้อนรับผู้มาเยือน อนึ่งในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ “การท่องเที่ยว” หมายถึง กิจกรรมทุกประเภทอันเกิดจากความสัมพันธ์และการมีปฏิสัมพันธ์กันของนักท่องเที่ยวกับทรัพยากรการท่องเที่ยว การบริการการท่องเที่ยวและการตลาดการท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับการดึงดูดใจนักท่องเที่ยวให้เดินทางมาเยือน
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :ศึกษาสภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวของวัดวังพระธาตุ ตำบล ไตรตรึงษ์ อำเภอเมือง จังหวัด กำแพงเพชรทางด้าน - การวางแผน - การจัดบุคลากร - การอำนวยการ - การควบคุม - การประชาสัมพันธ์และ - การจัดทำการตลาด
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :สถานที่ทำการเก็บข้อมูล คือ วัดวังพระธาตุ ตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ระยะเวลาที่ทำการวิจัย 1 ปี เริ่ม 1 ตุลาคม 2554 – 30 กันยายน 2555
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :1077 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางรัชนีวรรณ บุญอนนท์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย60

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด