รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000398
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : การประเมินความพึงพอใจผู้รับบริการขององค์การบริหารส่วนตำบลบึงสามัคคี อำเภอ บึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :-
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :ผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ ความพึงพอใจในการรับบริการ
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :15000
งบประมาณทั้งโครงการ :15,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2554
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2555
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยเชิงสำรวจ
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (ด้านพัฒนาสังคมและวัฒนธรรม)
สาขาวิชาการ :สาขาสังคมวิทยา
กลุ่มวิชาการ :สังคมวิทยา
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : สืบเนื่องจากบทบัญญัติต่างๆ ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 จนมาถึงในปี พ.ศ.2545 รัฐบาลได้ตรากฎหมายที่สำคัญต่อการบริหารราชการและการพัฒนาระบบราชการ คือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 ซึ่งถือเป็นการนำแนวความคิดเกี่ยวกับการปรับระบบราชการให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาแปลงให้เป็นรูปแบบกฎหมายเพื่อให้เกิดผลใช้บังคับเป็นการถาวร นอกเหนือจากการกำหนดเจตนารมณ์ของการมุ่งพัฒนาระบบราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนและบังเกิดผลสัมฤทธิ์ที่สามารถวัดผลได้ และแนวทางอื่นๆ ที่จำเป็นแล้ว พระราชบัญญัติฉบับนี้ยังได้กำหนดให้การปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการ ต้องให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งเป็นมาตรการสำคัญที่ส่งผลให้ส่วนราชการต่างๆ มีความตื่นตัวที่จะดำเนินการด้านนี้มากขึ้น จนกระทั่งต่อมาในปี พ.ศ.2546 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้ขยายแนวปฏิบัติเพิ่มโดยตราพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 เพื่อให้ส่วนราชการต่างๆ ยึดถือเป็นหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารราชการที่เป็นการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตามเจตนารมณ์ของการปฏิรูประบบราชการที่ต้องการให้ระบบราชการเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเป็นสำคัญ ซึ่งพระราชกฤษฎีกานี้ ในหมวดที่ 2 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน ได้กำหนดให้ในการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการนั้น ก่อนเริ่มดำเนินการ ส่วนราชการนั้นจะต้องดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนหรือชี้แจงทำความเข้าใจเพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงประโยชน์ที่ส่วนรวมจะได้รับจากภารกิจนั้น และให้ถือเป็นหน้าที่ของข้าราชการที่จะต้องคอยรับฟังความคิดเห็นและความพึงพอใจของสังคมโดยรวมและประชาชนผู้รับบริการ เพื่อปรับปรุงหรือเสนอแนะต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อให้มีการปรับปรุงวิธีปฏิบัติราชการให้เหมาะสม (การบริหารแบบมีส่วนร่วม, 2553)
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ : การประเมินในครั้งนี้มุ่งประเมินโครงการจำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า โครงการส่งเสริมและรักษาสุขภาพภายในช่องปากแก่ประชาชน และโครงการฝึกทักษะอาชีพหลังน้ำลด โดยทำการประเมินความพึงพอใจโครงการในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1. เพื่อประเมินความพึงพอใจด้านกระบวนการขั้นตอนการให้บริการ 2. เพื่อประเมินความพึงพอใจด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ 3. เพื่อประเมินความพึงพอใจด้านสิ่งอำนวยความสะดวก
ขอบเขตของโครงการ : การประเมินในครั้งนี้มุ่งประเมินโครงการจำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า โครงการส่งเสริมและรักษาสุขภาพภายในช่องปากแก่ประชาชน และโครงการฝึกทักษะอาชีพหลังน้ำลด
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. บุคลากรผู้รับผิดชอบงานขององค์การบริหารส่วนตำบลบึงสามัคคี ได้ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านกระบวนการขั้นตอนการให้บริการ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ และด้าน สิ่งอำนวยความสะดวกในโครงการเพื่อนำข้อมูลไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงการให้บริการ 2. องค์การบริหารส่วนตำบลบึงสามัคคี ได้ผลการประเมินงานด้านกระบวนการขั้นตอนการให้บริการ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ และด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในโครงการเพื่อนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติราชการ เพื่อพิจารณากำหนดประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษแก่พนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลบึงสามัคคี และลูกจ้างประจำปีงบประมาณ 2555
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :-
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :1075 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางอรุณลักษณ์ รัตนพันธุ์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย12
นายวชิระ เลี่ยมแก้ว บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยรองหัวหน้าโครงการวิจัย12
นายบุณยกฤต รัตนพันธุ์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย12
นายแดนชัย เครื่องเงิน บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย12
นางสาวรุ่งรุจี ศรีดาเดช บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย12
นางสาวศศิธร เมธาวิวัฒน์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย12
นางสุจิตตรา เที่ยงสันเทียะ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย12
นายเอนก หาลี บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย12

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด