รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000411
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ องค์การบริหารส่วนตำบลวังควง อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :-
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :-
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :16000
งบประมาณทั้งโครงการ :16,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2554
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2555
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยเชิงสำรวจ
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (ด้านพัฒนาสังคมและวัฒนธรรม)
สาขาวิชาการ :สาขาสังคมวิทยา
กลุ่มวิชาการ :ภูมิศาสตร์สังคม
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :องค์การบริหารส่วนตำบลวังควง ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของตำบลวังควง อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งมีภารกิจหลัก คือ มุ่งให้บริการงานในด้านต่างๆ ที่จะเอื้ออำนวยความสะดวกและสร้างความพึงพอใจแก่ประชาชนเป็นสำคัญ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 องค์การบริหาร ส่วนตำบลวังควง ได้เสนอให้หน่วยงานภายนอก ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ซึ่งเป็นสถาบันทางการศึกษาที่มีหน้าที่สำคัญอันเกี่ยวข้องในภารกิจนี้ทำการสำรวจและประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการจากองค์การบริหารส่วนตำบลวังควง จำนวน 3 โครงการ คือ โครงการประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุเนื่องในวันสงกรานต์ ประจำปีงบประมาณ 2555 โครงการจัดการแข่งขันกีฬาท้องถิ่นสัมพันธ์ต้านยาเสพติด ครั้งที่ 13 ประจำปีงบประมาณ 2555 โครงการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยตำบลวังควง ประจำปีงบประมาณ 2555 ซึ่งการเก็บข้อมูลที่ได้ตลอดจนการผ่านกระบวนการวิเคราะห์ โดยระเบียบวิธีวิจัย จะช่วยนำข้อมูลป้อนกลับเพื่อประโยชน์ในการใช้วางแนวทางพัฒนาคุณภาพการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลวังควงให้ดียิ่งขึ้น และตรงต่อความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :การประเมินในครั้งนี้มุ่งประเมินโครงการจำนวน 3 โครงการ อันได้แก่ โครงการประเพณี รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุเนื่องในวันสงกรานต์ ประจำปีงบประมาณ 2555 โครงการจัดการแข่งขันกีฬาท้องถิ่นสัมพันธ์ต้านยาเสพติด ครั้งที่ 13 ประจำปีงบประมาณ 2555 โครงการป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยตำบลวังควง ประจำปีงบประมาณ 2555 โดยทำการประเมินความพึงพอใจแต่ละโครงการในด้านต่างๆ ดังนี้ 1. เพื่อประเมินความพึงพอใจด้านกระบวนการขั้นตอนการให้บริการ 2. เพื่อประเมินความพึงพอใจด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ 3. เพื่อประเมินความพึงพอใจด้านสิ่งอำนวยความสะดวก 4. เพื่อประเมินความพึงพอใจด้านการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่
ขอบเขตของโครงการ :การประเมินในครั้งนี้มุ่งประเมินโครงการ จำนวน 3 โครงการ ที่ดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 อันได้แก่ 1. โครงการประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุเนื่องในวันสงกรานต์ ประจำปีงบประมาณ 2555 2. โครงการจัดการแข่งขันกีฬาท้องถิ่นสัมพันธ์ต้านยาเสพติด ครั้งที่ 13 ประจำปี 2555 3. โครงการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยตำบลวังควง ประจำปีงบประมาณ 2555
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. บุคลากรผู้รับผิดชอบงานขององค์การบริหารส่วนตำบลวังควง ได้ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านกระบวนการ ด้านเจ้าหน้าที่ (ผู้ให้บริการ) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในโครงการ เพื่อนำข้อมูลไปเป็นแนวทางในการปรับปรุง การให้บริการ 2. องค์การบริหารส่วนตำบลวังควง ได้ผลการประเมินงานด้านกระบวนการ ด้านเจ้าหน้าที่ (ผู้ให้บริการ) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ในโครงการเพื่อนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติราชการเพื่อพิจารณากำหนดประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษแก่พนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล วังควง และลูกจ้างประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2555
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :ความพึงพอใจหรือความพอใจตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า“Satisfaction” ได้มีผู้ให้ความหมายของความพึงพอใจไว้ดังนี้ ธงชัย สันติวงษ์ (2533 :389) กล่าวว่า ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกที่เกิดจากการได้รับการตอบสนองต่อความต้องการของตนเองอย่างดีหรือสมบูรณ์ที่สุด ดิเรก ฤทธิหร่าย (2527 :35) กล่าวว่า ความพึงพอใจ หมายถึง ทัศนคติในทางบวกของบุคคลที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปเป็นความพอใจในการปฏิบัติต่อสิ่งนั้น หลุย จำปาเทศ (2533 : 8) กล่าวว่า ความพึงพอใจ หมายถึง ความต้องการ (need) ได้บรรลุเป้าหมาย พฤติกรรมที่แสดงออกมาก็จะมีความสุข สังเกตได้จากสายตา คำพูดและการแสดงออก ความพึงพอใจจะลดความเครียดที่มีอยู่ แต่ถ้าเมื่อใดความพึงพอใจนั้นไม่สามารถบรรลุได้ความเครียดที่มีอยู่ก็ไม่มีการลด เวลาที่นานออกไปอาจทำให้ความเครียดนั้นยิ่งเพิ่มขึ้นได้เสมอหรือเรียกว่า อารมณ์สะสมและในมุมตรงกันข้ามในหลายๆ คน ความต้องการวุฒิภาวะจะเป็น ตัวช่วยลดความเครียดได้เช่นกันทั้งๆ ที่เวลาผ่านไปจะเห็นได้ว่าเมื่อคนบรรลุความต้องการแล้วความพึงพอใจก็จะเกิดขึ้น แต่นั่นมิได้หมายความว่าเขาจะพอใจตลอดไป เมื่อเวลาผ่านไปสักระยะหนึ่งความพึงพอใจนั้นก็จะลดลงหรือหมดความหมายไปในที่สุด
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :การเก็บรวบรวมข้อมูลและเครื่องมือที่ใช้ในเก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาวิจัย คือ ข้อมูลปฐมภูมิ การเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจะใช้เครื่องมือแบบสอบถามที่ถูกสร้างขึ้นมา เพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มประชาชนผู้รับบริการจากองค์การบริหารส่วนตำบลวังควง ข้อมูลทุติยภูมิ การเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ จะทำการรวบรวมข้อมูลในส่วนของสถิติ ข้อมูลเอกสาร (Documentary Data) และผลงานที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงาน และแบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In – depth Interview) โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม 1. คณะผู้ประเมินนิเทศ และฝึกผู้เก็บข้อมูลโดยฝึกการถามคำถามตามแบบสอบถามเพื่อให้ประชาชนส่วนใหญ่สะดวกที่จะตอบแบบสอบถามความพึงพอใจโดยการตอบด้วยปากเปล่า เมื่อมีผู้อ่านคำถามให้ฟัง 2. คณะผู้ประเมินและผู้ได้รับการฝึกเก็บข้อมูล ออกเก็บรวบรวมข้อมูล ตามหมู่บ้านที่กำหนด โดยกระจายทุกหมู่บ้าน 3. คณะผู้ประเมินรวบรวมแบบสอบถามพิจารณาความสมบูรณ์ของการตอบ รวบรวมจนครบตามจำนวนที่กำหนดเป็นกลุ่มตัวอย่าง
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :สรุปผลการประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการขององค์การบริหารส่วนตำบลวังควง อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร ในโครงการประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุเนื่องในวันสงกรานต์ ประจำปีงบประมาณ 2555 โครงการจัดการแข่งขันกีฬาท้องถิ่นสัมพันธ์ต้านยาเสพติด ครั้งที่ 13 ประจำปีงบประมาณ 2555 โครงการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยตำบลวังควง ประจำปีงบประมาณ 2555 พบว่า ความพึงพอใจโดยรวมมีระดับร้อยละ 86 (ค่าเฉลี่ย = 4.34) คะแนนระดับ 7 ซึ่งเมื่อพิจารณาเป็นรายโครงการ พบผลประเมินความพึงพอใจได้
จำนวนเข้าชมโครงการ :1385 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวโอกาม่า จ่าแกะ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย50
นางจิราภา จารุวัฒน์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย50

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด