รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000415
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การประเมินความพึงพอใจผู้รับบริการขององค์การบริหารส่วนตำบลคณฑี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :-
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :-
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :15000
งบประมาณทั้งโครงการ :15,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 มกราคม 2554
วันสิ้นสุดโครงการ :30 ตุลาคม 2555
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยเชิงสำรวจ
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (ด้านพัฒนาสังคมและวัฒนธรรม)
สาขาวิชาการ :อื่นๆ
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :สืบเนื่องจากบทบัญญัติต่างๆ ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 จนมาถึง ในปี พ.ศ.2545 รัฐบาลได้ตรากฎหมายที่สำคัญต่อการบริหารราชการและการพัฒนาระบบราชการ คือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 ซึ่งถือเป็นการนำแนวความคิดเกี่ยวกับการปรับระบบราชการให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาแปลงให้เป็นรูปแบบกฎหมายเพื่อให้เกิดผลใช้บังคับเป็นการถาวร นอกเหนือจากการกำหนดเจตนารมณ์ของการมุ่งพัฒนาระบบราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนและบังเกิดผลสัมฤทธิ์ที่สามารถวัดผลได้ และแนวทางอื่นๆ ที่จำเป็นแล้ว พระราชบัญญัติฉบับนี้ยังได้กำหนดให้การปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการ ต้องให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งเป็นมาตรการสำคัญที่ส่งผลให้ส่วนราชการต่างๆ มีความตื่นตัวที่จะดำเนินการด้านนี้มากขึ้น จนกระทั่งต่อมาในปี พ.ศ.2546 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้ขยายแนวปฏิบัติเพิ่ม โดยตราพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 เพื่อให้ส่วนราชการต่างๆ ยึดถือเป็นหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารราชการที่เป็นการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตามเจตนารมณ์ของการปฏิรูประบบราชการที่ต้องการให้ระบบราชการเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเป็นสำคัญ ซึ่งพระราชกฤษฎีกานี้ ในหมวดที่ 2 การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน ได้กำหนดให้ในการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการนั้น ก่อนเริ่มดำเนินการ ส่วนราชการนั้นจะต้องดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนหรือชี้แจงทำความเข้าใจเพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงประโยชน์ที่ส่วนรวมจะได้รับจากภารกิจนั้น และให้ถือเป็นหน้าที่ของข้าราชการที่จะต้องคอยรับฟังความคิดเห็นและความพึงพอใจของสังคมโดยรวมและประชาชนผู้รับบริการ เพื่อปรับปรุงหรือเสนอแนะต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อให้มีการปรับปรุงวิธีปฏิบัติราชการให้เหมาะสม (การบริหารแบบมีส่วนร่วม : 2553) องค์การบริหารส่วนตำบล หรือมีชื่อย่ออย่างเป็นทางการว่า อบต. มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจัดตั้งขึ้นตาม พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับที่ 5 พ.ศ.2546 โดยยกฐานะจากสภาตำบล ที่มีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกันสามปีเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทหรือตามเกณฑ์รายได้เฉลี่ยที่มีการเปลี่ยนแปลง (ซึ่งทำเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทยและประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา) (วิกิพีเดีย : 2553) โดยมีการจัดโครงสร้างเป็นลักษณะของสภาตำบลซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้กำหนดนโยบายและกำกับดูแลกรรมการบริหารของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล นอกจากนี้ยังมีพนักงานประจำที่เป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นและมีปลัดและรองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นหัวหน้างานบริหารภายในองค์กร มีการแบ่งออกเป็นหน่วยงานต่างๆ ตามภาระหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลแต่ละแห่ง เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ที่รับผิดชอบอยู่ เช่น สำนักงานปลัด ส่วนการคลัง ส่วนสาธารณสุข ส่วนการศึกษา และส่วนการโยธา ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์การปกครองท้องถิ่น พ.ศ.2542 ได้กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองตามมาตรา 16 เช่น ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่นการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส เป็นต้น (อำนาจและหน้าที่ตามกฎหมาย : 2553) ซึ่งในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลแต่ละแห่งได้จัดทำแผนการพัฒนาตามแต่ละส่วนงานที่รับผิดชอบเพื่อดำเนินงานตามภารกิจต่างๆ ในพื้นที่ที่รับผิดชอบตามความสอดคล้องของพระราชบัญญัติที่จัดขึ้น ในการนี้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลต่างจำเป็นต้องดำเนินการอันประกอบด้วยโครงสร้างการจัดหน้าที่ให้บริการ บุคลากรประจำหน่วยงาน และงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร เพื่อดำเนินงานตามภารกิจที่มุ่งพัฒนาพื้นที่รับผิดชอบ ซึ่งในแต่ละงานหรือโครงการต่างๆ ต้องผ่านการประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการ ตามเกณฑ์การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล การปฏิบัติราชการ มิติที่ 2 มิติด้านคุณภาพการให้บริการ โครงการอันมากมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา การเกษตร การสาธารณสุข ความมั่นคง ปลอดภัย และอื่นๆ เพื่อพัฒนาความเจริญดังกล่าวแล้วต้องใช้จ่ายทรัพยากรเป็นจำนวนมากทั้งที่เป็นเงิน วัสดุอุปกรณ์และกำลังคน โครงการบางโครงการมีประโยชน์มากและเห็นคุณค่าอย่างชัดเจน โครงการบางชนิดเมื่อกระทำไปแล้วไม่เกิดประโยชน์และคุณค่าแต่ประการใด การที่จะตัดสินใจระบุลงไปว่าโครงการใดมีประโยชน์มีคุณค่าหรือมีประโยชน์มากน้อยเพียงใดย่อมจะต้องมีการพิสูจน์วิเคราะห์ โดยเครื่องมือที่ใช้ก็คือศาสตร์ที่ว่าด้วยการประเมินโครงการ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ให้ข้อมูลย้อนกลับ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการปรับปรุงการดำเนินงานของโครงการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้ทราบข้อบกพร่อง จุดเด่น จุดด้อยของโครงการ และทราบว่าโครงการได้บรรลุวัตถุประสงค์ เป้าหมายเพียงใด และช่วยให้ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการนำไปใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินโครงการได้ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต การประเมินโครงการอย่างมีระบบ ย่อมจะมีส่วนช่วยให้ผู้บริหารโครงการได้ตระหนักถึงคุณภาพของโครงการที่กำหนดขึ้นไว้ว่าจะสามารถตัดสินใจในการดำเนินการ การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงโครงการให้มีความถูกต้องเหมาะสม และส่งผลให้โครงการนั้นดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุถึงเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้ทุกประการ (ประชุม รอดประเสริฐ, 2539) องค์การบริหารส่วนตำบลคณฑี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของตำบลคณฑี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งมีภารกิจหลักคือมุ่งให้บริการงานในด้านต่างๆที่จะเอื้ออำนวยความสะดวกและสร้างความพึงพอใจแก่ประชาชนเป็นสำคัญ โดยในปี งบประมาณ พ.ศ. 2555 องค์การบริหารส่วนตำบลคณฑี ได้เสนอให้หน่วยงานภายนอก ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร สถาบันทางการศึกษาที่มีหน้าที่สำคัญอันเกี่ยวข้องในภารกิจนี้ ทำการสำรวจและประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการจากจำนวน 3 โครงการคือ โครงการพัฒนาศักยภาพการจัดเก็บรายได้ประจำปีงบประมาณ 2555 โครงการรับขวัญวันแรกเกิด ประจำปี 2555 โครงการจัดเก็บขยะมูลฝอยในเขตพื้นที่ตำบลคณฑี ซึ่งการเก็บข้อมูลที่ได้และผ่านกระบวนการการวิเคราะห์โดยระเบียบวิธีวิจัย จะช่วยนำข้อมูลป้อนกลับเพื่อประโยชน์ในการใช้วางแนวทางพัฒนาคุณภาพการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลคณฑี ให้ดียิ่งขึ้นและตรงต่อความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :การประเมินในครั้งนี้มุ่งประเมินโครงการจำนวน 3 โครงการคือ โครงการพัฒนาศักยภาพการจัดเก็บรายได้ประจำปีงบประมาณ 2555 โครงการรับขวัญวันแรกเกิด ประจำปี 2555 โครงการจัดเก็บขยะมูลฝอยในเขตพื้นที่ตำบลคณฑี โดยทำการประเมินความพึงพอใจแต่ละโครงการในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1. เพื่อประเมินความพึงพอใจด้านกระบวนการขั้นตอนการให้บริการ 2. เพื่อประเมินความพึงพอใจด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ 3. เพื่อประเมินความพึงพอใจด้านสิ่งอำนวยความสะดวก 4. เพื่อประเมินความพึงพอใจด้านการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่
ขอบเขตของโครงการ :อันได้แก่ 1. โครงการพัฒนาศักยภาพการจัดเก็บรายได้ประจำปีงบประมาณ 2555 2. โครงการรับขวัญวันแรกเกิด ประจำปี 2555 3. การประเมินในครั้งนี้มุ่งประเมินโครงการจำนวน 3 โครงการ โครงการจัดเก็บขยะมูลฝอยในเขตพื้นที่ตำบลคณฑี
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. บุคลากรผู้รับผิดชอบงานขององค์การบริหารส่วนตำบลคณฑีได้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านกระบวนการ ด้านเจ้าหน้าที่ (ผู้ให้บริการ) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในโครงการเพื่อนำข้อมูลไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงการให้บริการ 2. องค์การบริหารส่วนตำบลคณฑีได้ผลการประเมินงานด้านกระบวนการ ด้านเจ้าหน้าที่(ผู้ให้บริการ) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในโครงการเพื่อนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติราชการ เพื่อพิจารณากำหนดประโยชน์ตอบแทนอื่นเป็นกรณีพิเศษแก่พนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลคณฑีและลูกจ้างประจำปีงบประมาณ 2555
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :1.1 ความหมายของความพึงพอใจ ความพึงพอใจหรือความพอใจตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “Satisfaction” ได้มีผู้ให้ความหมายของความพึงพอใจไว้ดังนี้ ธงชัย สันติวงษ์ (2533 : 389) กล่าวว่า ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกที่เกิดจากการได้รับการตอบสนองต่อความต้องการของตนเองอย่างดีหรือสมบูรณ์ที่สุด ดิเรก ฤทธิหร่าย (2527 : 35) กล่าวว่า ความพึงพอใจ หมายถึง ทัศนคติในทางบวกของบุคคลที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปเป็นความพอใจในการปฏิบัติต่อสิ่งนั้น หลุย จำปาเทศ (2533 : 8) กล่าวว่า ความพึงพอใจ หมายถึง ความต้องการ (need) ได้บรรลุเป้าหมาย พฤติกรรมที่แสดงออกมาก็จะมีความสุข สังเกตได้จากสายตา คำพูดและการแสดงออก ความพึงพอใจจะลดความเครียดที่มีอยู่ แต่ถ้าเมื่อใดความพึงพอใจนั้นไม่สามารถบรรลุได้ ความเครียดที่มีอยู่ก็ไม่มีการลด เวลาที่นานออกไปอาจทำให้ความเครียดนั้นยิ่งเพิ่มขึ้นได้เสมอ หรือเรียกว่า อารมณ์สะสมและในมุมตรงกันข้ามในหลายๆ คน ความต้องการวุฒิภาวะจะเป็น ตัวช่วยลดความเครียดได้เช่นกัน ทั้งๆ ที่เวลาผ่านไปจะเห็นได้ว่าเมื่อคนบรรลุความต้องการแล้วความพึงพอใจก็จะเกิดขึ้น แต่นั่นมิได้หมายความว่าเขาจะพอใจตลอดไป เมื่อเวลาผ่านไปสักระยะหนึ่งความพึงพอใจนั้นก็จะลดลงหรือหมดความหมายไปในที่สุด เพลินทิพย์ โกเมศโสภา (2542 : 76) ให้ความหมายของความพึงพอใจว่า หมายถึง ความรู้สึกที่แสดงถึงความยินดี หรือความผิดหวัง อันเป็นผลสืบเนื่องจากการที่แต่ละบุคคลเปรียบผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้บริการจริงๆ โดยสัมพันธ์กับความคาดหวังเดิมของเขา อังคณา นันทวดีพิศาล (2546 : 8) ได้สรุปไว้ว่า ความพึงพอใจ หมายถึง แรงกระตุ้นหรือพลังที่ผลักดันหรือเร้าความรู้สึกของบุคคลให้มีความสนใจ เต็มใจ ในการกระทำกิจกรรมหรือพฤติกรรมที่ดำเนินไปสู่เป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่บุคคลคาดหมาย วิชัย ธิโวนา (2550 : 25) ได้สรุปไว้ว่า ความพึงพอใจหมายถึง ความรู้สึกรัก ชอบ ยินดี หรือมีเจตคติที่ดีต่อบุคคล ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อได้รับการตอบสนองความต้องการทั้งด้านวัตถุและจิตใจ สรรเสริญ พงษ์พิพัฒน์ (2550 : 15) ได้สรุปว่า ความพึงพอใจหมายถึง ความรู้สึกที่ดีหรือทัศนคติในทางที่ดีของบุคคล ซึ่งมักเกิดจากการได้รับการตอบสนองตามที่ตนเองต้องการก็จะเกิดความรู้สึกที่ดีในสิ่งนั้น ตรงกันข้ามหากความต้องการที่ตนไม่ได้รับการสนองตอบความไม่พึงพอใจก็จะเกิดขึ้น มอร์ส (Morse อ้างใน คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, 2547 : 17) กล่าวว่า ความพึงพอใจหรือความพอใจ ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “Satisfaction” หมายถึง สิ่งที่ตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ เป็นการลดความตึงเครียดทางด้านร่างกายและจิตใจ หรือสภาพความรู้สึกของบุคคลที่มีความสุข ความชื่นใจ ตลอดจนสามารถสร้างทัศนคติในทางบวกต่อบุคคลต่อสิ่งหนึ่ง ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามความพอใจต่อสิ่งนั้น เชลล์ (Shell อ้างใน คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, 2547 : 17) ได้กล่าวถึง ทฤษฎีของความพึงพอใจว่าเป็นความรู้สึกสองแบบของมนุษย์ คือ ความรู้สึกทางบวกและความรู้สึกทางลบความรู้สึกทางบวกเป็นความรู้สึกที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะทำให้เกิดความสุข ความสุขนี้เป็นความรู้สึกที่แตกต่างจากความรู้สึกทางบวกอื่นๆ กล่าวคือ เป็นความรู้สึกที่ระบบย้อนกลับ ความสุขที่สามารถทำให้เกิดความสุขหรือความรู้สึกทางบวกเพิ่มขึ้นได้อีก ดังนั้นจะเห็นได้ว่าความสุขเป็นความรู้สึกที่สลับซับซ้อนและความสุขนี้จะมีผลต่อบุคคลมากกว่าความรู้สึกทางบวกอื่นๆ โอลิเวอร์ (Oliver อ้างใน จิตตินันท์ เดชะคุปต์ 2530 : 19) ให้คำจำกัดความไว้ว่าความพึงพอใจของลูกค้าหมายถึง ภาวะแสดงออกที่เกิดจากการประเมินประสบการณ์การซื้อและการใช้สินค้าและบริการ ซึ่งอาจขยายความให้ชัดเจนได้ว่า ความพึงพอใจ หมายถึง ภาวการณ์แสดงออกถึงความรู้สึกในทางบวกที่เกิดจากการประเมินเปรียบเทียบประสบการณ์การได้รับบริการที่ตรงกับที่ลูกค้าคาดหวังหรือดีเกินกว่าความคาดหวังของลูกค้า ในทางตรงกันข้าม ความไม่พึงพอใจ หมายถึง ภาวการณ์แสดงออกถึงความรู้สึกในทางลบ ที่เกิดจากการประเมินเปรียบเทียบประสบการณ์การได้รับบริการที่ต่ำกว่าความคาดหวังของลูกค้า วรูม (Vroom, 1984 : 99) กล่าวว่า ทัศนคติและความพึงพอใจในสิ่งหนึ่งสามารถใช้แทนกันได้เพราะทั้งสองคำนี้จะหมายถึงผลที่ได้จากการที่บุคคลเข้าไปมีส่วนร่วมในสิ่งนั้น โดยทัศนคติด้านบวก จะแสดงให้เห็นสภาพความพึงพอใจในสิ่งนั้นและทัศนคติด้านลบจะแสดงให้เห็นสภาพความไม่พึงพอใจนั่นเอง จากความหมายของความพึงพอใจที่กล่าวมาข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกที่ได้รับการตอบสนองที่ตรงกับความคาดหวังหรือดีเกินกว่าความคาดหวังของบุคคล
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :การดำเนินงานสำรวจและประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการองค์การบริหารส่วนตำบลคณฑี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชรครั้งนี้ มุ่งประเมินโครงการต่างๆใน 4 ด้านคือ ด้านกระบวนการขั้นตอนการให้บริการ ด้านเจ้าหน้าที่(ผู้ให้บริการ) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและด้านการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ คณะผู้ประเมินได้ดำเนินการตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้ 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 3. การเก็บรวบรวมข้อมูล 4. การวิเคราะห์ข้อมูล
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :821 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายพิชิต พจนพาที บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย25
นายณัฐธิกานต์ ปิ่นจุไร บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยรองหัวหน้าโครงการวิจัย25
นายอานนท์ วงษ์มณี บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย25
นางสาวอำไพ แสงจันทร์ไทย บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย25

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด