รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000424
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การวิจัยพัฒนาครูของครูด้วยโจทย์วิจัยถิ่น : ทุนทางสังคมกับการจัดการขยะมูลฝอยแบบชุมชนมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Research-based teacher development: Social Capital with Co-operated of Community-Based in Solid Waste Management of Nakhornchum Local Government Administration in Kamphaeng Phet Province
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :1.การวิจัย (Research-based) 2.พัฒนาครู (Teacher Development) 3.ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom) 4.ทุนทางสังคม (Social capital) 5.การจัดการขยะมูลฝอย (solid waste management) 6.แบบชุมชนมีส่วนร่วม (community-based)
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :260000
งบประมาณทั้งโครงการ :260,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2554
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2555
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยพื้นฐาน(ทฤษฎี)/บริสุทธิ์
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (ด้านพัฒนาสังคมและวัฒนธรรม)
สาขาวิชาการ :อื่นๆ
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : ภายใต้บริบทของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ส่วนที่ 12 สิทธิชุมชน มาตรา 66 บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชน ชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น และของชาติ และมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน และมาตรา 67 สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการอนุรักษ์ บำรุงรักษา และการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุ้มครอง ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อม ที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตน ย่อมได้รับ ความคุ้มครองตามความเหมาะสมการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพจะกระทำมิได้เว้นแต่จะได้ศึกษา และประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน รวมทั้งได้ให้องค์การอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินการดังกล่าวฯ ดังนั้นการบูรณาการทุนทางสังคมกับการจัดการขยะชุมชนอย่างยั่งยืน
จุดเด่นของโครงการ :จากการลงพื้นที่ศึกษาความสำคัญและที่มาของปัญหา พบว่า การกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลขององค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม มีการจัดการเกี่ยวกับการบริการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล คือ มีปริมาณขยะโดยเฉลี่ยต่อวัน 3,297 กิโลกรัม มีรถบรรทุกขยะขนาด 12 ตัน จำนวน 1 คัน และรถบรรทุกขยะขนาด 8 ตัน จำนวน 1 คัน มีคนงานที่ปฏิบัติงานรวมทั้งสิ้น 10 คน มีวิธีการกำจัดขยะมูลฝอย โดยการฝังกลบที่ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยเทศบาลเมืองกำแพงเพชร ซึ่งการจัดการขยะขององค์การบริหารส่วนตำบลนครชุมมีปัญหาบุคลากรไม่เพียงพอ และขาดองค์ความรู้ในการกำจัดขยะที่เหมาะสม
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อพัฒนาครูและนักศึกษาที่จะเป็นครูของท้องถิ่นให้มีทักษะด้านการวิจัยด้วยโจทย์วิจัยท้องถิ่นอย่างมีคุณภาพ เป็นระบบ และสามารถกระจายสู่การศึกษาระดับโรงเรียน รวมทั้งชุมชนในท้องถิ่น 2. เพื่อพัฒนาและแก้ปัญหาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน จากการใช้ด้วยโจทย์วิจัยท้องถิ่น 3. เพื่อพัฒนาหลักสูตรมาตรฐานที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย 4. เพื่อพัฒนางานวิจัยเครือข่ายที่มีประโยชน์ ในการพัฒนาท้องถิ่น พัฒนาประเทศอย่างเป็นระบบ มีคุณภาพ
ขอบเขตของโครงการ :โครงการวิจัยเป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) เน้นการวิจัยเชิงคุณภาพ และข้อมูลเชิงปริมาณประกอบเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :-
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :แนวคิดเกี่ยวกับทุนทางสังคม ในวิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมาสิ่งที่หายไปจากสังคมไทย คือ “เงิน” แต่สิ่งที่ยังคงดำรงอยู่และสามารถทำให้พอกพูนได้ อย่างต่อเนื่องและเป็นประจำกับผู้คน ทั้งที่อยู่ในระดับรากหญ้า ผู้คนที่อยู่ในระดับท้องถิ่น ต่อสื่อมวลชน ต่อรัฐบาลและต่อโลก
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :1. เพื่อเป็นการจัดระบบความคิดเกี่ยวกับทุนทางสังคมให้เป็นหมวดหมู่ที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น จากที่เคยมีความหลากหลาย ทั้งที่เป็นรูปธรรมและเป็นนามธรรม 2. เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการบูรณาการความหมาย และแนวความคิดเกี่ยวกับทุนทางสังคมที่ยังอยู่อย่างกระจัดกระจายให้มีจุดร่วมกันในการอธิบายเพราะทั้งความหมาย แนวความคิดที่มีมิติที่ต่างกัน อาทิ มิติของทรัพยากรหรือทรัพยากรธรรมชาติ มิติของวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ความรู้ มิติที่เป็นพลังในการขับเคลื่อนสังคม มิติของค่านิยม จารีตประเพณี การต่างตอบแทน การเกื้อกูล ความเอื้ออาทร ความไว้วางใจ ความสามัคคี และการมีส่วนร่วม 3. การจัดระบบความคิดเกี่ยวกับทุนทางสังคมให้เป็นหมวดหมู่ ในรูปของกระบวนการ การบูรณาการความหมาย และแนวความคิดเกี่ยวกับทุนทางสังคมให้เป็นระบบเดียวกัน จะช่วยให้การอธิบายถึงเหตุผลว่า ทุนทางสังคมคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร หรือจะสร้างให้เกิดขึ้นได้อย่าง ด้วยวิธีการใด ภายใต้เงื่อนไขอะไร และผลที่เกิดจากการมีทุนทางสังคมได้ส่งผลกระทบหรือสร้างพลังให้แก่สังคมหรือชุมชนได้อย่างไร สิ่งเหล่านี้นับว่าจะเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการและการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับทุนทางสังคมให้มีมากยิ่งขึ้น
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :องค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชรรวมถึงหมู่บ้านใกล้เคียงในเขตความรับผิดชอบองค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม จำนวน 11 หมู่บ้าน 1. ศึกษาวิจัยสถาบัน เพื่อให้ได้ข้อมูลหน่วยงาน หลักสูตรการเรียนการสอน การวิจัย การบริหารของหน่วยงาน องค์กร พร้อมทั้งการวิจัยชุมชน เพื่อหาข้อมูล ภูมิปัญญา ทรัพยากรท้องถิ่น โจทย์-ปัญหาชุมชน องค์กรชุมชน การสื่อสาร รวมทั้งความอ่อนแอหรือความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น เพื่อประเมินภาพรวมของหน่วยงานและชุมชน 2. สถาบันสร้างอัตลักษณ์ร่วมกัน จากความคิดเห็นของบุคลากรทุกระดับ เช่น จะเป็นมหาวิทยาลัยที่พึงของท้องถิ่นในด้านการเกษตร โดยเฉพาะข้าว และการทอผ้าตามภูมิปัญญาท้องถิ่น 3. นำภูมิปัญญาในข้อ 2 มาสร้างโจทย์วิจัย และบทเรียน หรือ กิจกรรมเข้าสู่ชั้นเรียนระดับปริญญาตรี ที่เหมาะสมกับแผนการศึกษาในระดับชั้นปีต่างๆ 4. วิเคราะห์และประเมินผลโครงการวิจัย โดยเน้นการพัฒนาทักษะของผู้เรียนที่สอดคล้องตามแผนการเรียนของแต่ละระดับ และการใช้ผลงานวิจัยในการพัฒนาชุมชน 5. สรุปผลภาพรวมของโครงการวิจัยในระดับหลักสูตร มหาวิทยาลัย ชุมชน และเครือข่ายฯ
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :1942 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวโอกาม่า จ่าแกะ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย60

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด