รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000428
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรสวัสดิการชุมชนเพื่อลดความยากจนและความเหลื่อมล้ำในสังคม
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :strengthening capacity of community welfare organization for reducing poverty and social inequality
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :-
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :130000
งบประมาณทั้งโครงการ :130,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2554
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2555
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยเชิงสำรวจ
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (ด้านพัฒนาสังคมและวัฒนธรรม)
สาขาวิชาการ :สาขาสังคมวิทยา
กลุ่มวิชาการ :ภูมิศาสตร์สังคม
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ปัญหาการเข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุนก็มีผลให้วิสัยทัศน์ขององค์กรชุมชนเป็นเพียงแค่ความฝันชาวบ้านจึงรวมกลุ่มกันระดมทุนในชุมชนจัดตั้งเป็นกลุ่มและองค์กรออมทรัพย์เพื่อการพึ่งพาตนเองโดยลงทุนร่วมกันอออมเงิน (savings) ในการให้สินเชื่อ (loans) หรือเป็นทุนในการผลิตและจัดสวัสดิการของชุมชน (community welfare) ให้สมาชิกซึ่งดำเนินการในรูปกลุ่มหรือองค์กรกู้ยืมไปทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น การทำธุรกิจขนาดเล็ก วิสาหกิจชุมชน อุตสาหกรรมงานฝีมือ และผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมที่เป็นการส่งเสริมการจ้างงานตนเองรวมทั้งจัดสวัสดิการสังคมเพื่อเป็นเครื่องมือแก้ปัญหาความยากจนและลดการกีดกันทางสังคม (Ricks และ คณะ, 1999; Ife, 1995) ก่อตั้งขึ้นเป็นกลุ่มและองค์กรการเงินที่ไม่เป็นทางการด้วยความเรียบง่ายและชัดเจนโดยเฉพาะกลุ่มออมทรัพย์ได้พัฒนาการไปสู่ “การออมเพื่อสวัสดิการ” อย่างกรณี “การออมวันละบาท” เพื่อนำเงินออมไปใช้ใน “การจัดสวัสดิการ” แก่สมาชิก ซึ่งนอกจากจะให้บริการด้านเงินกู้และเงินฝากแล้วยังเป็นการช่วยเหลือกันในการจัดการกับความเสี่ยง (ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ, 2549; อัมมาร สยามวาลา และคณะ, 2549) ขณะเดียวกันศาสตราจารย์โมฮัมเหม็ด ยูนูส ผู้ซึ่งได้รับรางวัล Nobel Prize สาขาสันติภาพปี 2006 ก่อตั้งกลุ่มออมทรัพย์ (microfinance or microcredit) เพื่อผลักดันให้การออมทรัพย์และเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาความยากจนจากการที่เขาได้รับแรงบันดาลใจเกี่ยวกับความอดอยากของประชาชนประเทศบังคลาเทศในปี 1974 เห็นว่า กลุ่มออมทรัพย์เป็นกิจกรรมการออมร่วมกัน (collective savings) และ เงินกู้ยืมเพื่อการผลิต (loan products) สำหรับช่วยให้คนยากจนผู้ซึ่งไม่มีคุณสมบัติในการกู้เงินจากธนาคารของรัฐและธนาคารพาณิชย์มีโอกาสกู้เงินโดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันในการประกอบธุรกิจขนาดเล็ก โดยคนจนจะส่งเงินกู้คืนเสมอ (The poor always pay back) ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะกระบวนการกลุ่มที่สนับสนุนและควบคุมสมาชิกที่มีประสิทธิภาพ
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ : ศึกษาข้อมูลครัวเรือนจากชุมชนต้นแบบและชุมชนเปรียบเทียบในจังหวัดกำแพงเพชรและ ตาก เพื่อวิเคราะห์มูลเหตุของปัญหาความยากจนและความเหลื่อล้ำในการเข้าถึงสวัสดิการชุมชน ศึกษาเปรียบเทียบและถอดบทเรียนผลกระทบจากปัญหาความยากจนและความเหลื่อล้ำในการเข้าถึงสวัสดิการของครัวเรือนต่อการดำเนินชีวิตของครัวเรือน ระหว่างชุมชนต้นแบบและชุมชนเปรียบเทียบในจังหวัดกำแพงเพชรและตาก 6.3 ศึกษามาตรการและตัวแบบการแก้ไขปัญหาความยากจนของครัวเรือนและการจัดสวัสดิการในการลดความเหลื่อมล้ำในชุมชนขององค์กรชุมชน เอกชนและหน่วยงานภาครัฐ เพื่อการขยายผลจากชุมชนต้นแบบสู่ชุมชนเปรียบเทียบในจังหวัดกำแพงเพชรและตาก
ขอบเขตของโครงการ :1) กลุ่มตัวอย่างเพื่อรวบรวมข้อมูลทั่วไปของบริบทชุมชน ร้อยละ 20-30 % (เพ็ญแข แสงแก้ว, 2541) ของครัวเรือนจากชุมชนต้นแบบและชุมชนเปรียบเทียบ ในจังหวัดกำแพงเพชรและตาก 4 ชุมชนๆ ละประมาณ 80 ครัวเรือน เป็นจำนวนทั้งสิ้น 320 ครัวเรือน 2) ผู้ให้ข้อมูลหลักจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 คน และส่วนภูมิภาค 4 คน รวม 8 คน 3) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักเพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างและหน้าที่จากคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชน จาก 4 ชุมชน ๆ ละ 2 คน รวมจำนวน 8 คน 4) กลุ่มคนจนเพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความยากจนและความเหลื่อมล้ำในชุมชน ซึ่งคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างครัวเรือนยากจนในชุมชนต้นแบบและชุมชนเปรียบเทียบ โดยใช้เทคนิค snow-ball sampling และสัมภาษณ์หัวหน้าหมู่บ้านในแต่ละชุมชนเป็นผู้คัดเลือกครัวเรือนที่คิดว่ามีฐานะยากจนที่สุดชุมชนในจังหวัดกำแพงเพชร ตาก และสุโขทัย 4 ชุมชนๆ ละ 5 ครัวเรือนเป็นจำนวนทั้งสิ้น 20 ครัวเรือน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์เปรียบเทียบมาตรการแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ โดยเน้นให้ชุมชนพึ่งพาตนเอง จากการนำเอาองค์ความรู้ และทุนทางสังคมขององค์กรประชาสังคมและองค์กรชุมชม มาช่วยในการแก้ไขปัญหา เป็นมาตรการเสริมที่นอกเหนือจากความช่วยเหลือจากภาครัฐโดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อพิสูจน์ผลสัมฤทธิ์ อันจะนำไปสู่การขยายผลไปยังองค์กรประชาสังคมในชุมชนอื่นๆ ที่ประสบปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ ซึ่งจะทำให้การแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำได้อย่างยั่งยืน 2. งานวิจัยนี้ช่วยให้มีการบันทึกข้อมูลเชิงลึก การพัฒนาทางสังคมในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรชุมชนที่ส่งเสริมการออมและการจัดสวัสดิการชุมชนเพี่อลดความยากจนและความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยผู้นำและกลุ่มนำมาใช้เพื่อโน้มน้าวพฤติกรรมของสมาชิก และใช้เป็นองค์ความรู้ในการขยายผลงานวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณต่อไป 4. ช่วยให้เข้าใจบทบาทของทุนทางสังคมในการเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรประชาสังคมและองค์กรชุมชนในการเชื่อมโยงสมาชิกและกิจกรรมทางสังคมและเศรษฐกิจรวมทั้งบทบาทในการระดมทรัพยากรจากภายนอกมาสนับสนุนชุมชน และปัจจัยที่สนับสนุนการขยายตัวของกลุ่มทรัพย์และสวัสดิการชุมชน 5. กรณีศึกษาเหล่านี้อาจจะมีประโยชน์หรือเป็นตัวแบบการพัฒนาชุมชนอื่นๆ รวมทั้งการขับเคลื่อนนโยบายของภาครัฐ หรือหน่วยงานภาครัฐ ในการขยายระบบประกันทางสังคมให้ทั่วถึงโดยใช้แนวทาง “การเพิ่มความสามารถ” และ “เพิ่มพลังให้ประชาชน” โดยเฉพาะคนจนและด้อยโอกาส 6. งานวิจัยนี้มีประโยชน์ต่องานวิชาการในแง่ของการพัฒนาแนวคิดทุนทางสังคมซึ่งประกอบด้วยตัวแปรเชิงคุณภาพสู่ตัวแปรเชิงปริมาณซึ่งน่าจะมีประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ในการวิจัยทางสังคมศาสตร์รวมทั้งกลุ่มหรือองค์กรชุมชนและการกำหนดนโยบายของภาครัฐ
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :เมื่อกล่าวถึง "ความยากจน" โดยทั่วไปจะหมายถึงความยากจนในเชิงเศรษฐกิจ (Monetary Dimension) นั่นคือพิจารณาที่ระดับรายได้ หรือฐานะทางเศรษฐกิจของบุคคลว่ามีรายได้ไม่เพียงพอกับการดำรงชีพได้ตามมาตรฐานขั้นต่ำ หรือมีรายได้ต่ำกว่ามาตรฐานคุณภาพชีวิตขั้นต่ำที่ยอมรับในแต่ละสังคม เมื่อนิยามความยากจนอิงกับการขาดแคลนรายได้เช่นนี้เครื่องมือที่ใช้ในการวัดสภาวะความยากจนจึงใช้รายได้หรือรายจ่ายของครัวเรือน และแนวทางในการแก้ไขปัญหาก็จะมุ่งเน้นที่การเพิ่มรายได้ของครัวเรือน โดยการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปัจจัยการผลิตและกระบวนการผลิตสินค้าและบริการที่ดำเนินการโดยคนจน การปรับปรุงสภาพแวดล้อมของตลาดในด้านต่างๆ ให้เอื้ออำนวยต่อคนจน ตลอดจนการให้เงินอุดหนุนในรูปแบบต่างๆ เช่น เบี้ยยังชีพคนชรา เป็นต้น ปัจจุบันได้มีแนวคิดใหม่ในการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยในมุมมองใหม่นี้มิได้พิจารณาเฉพาะการมีรายได้น้อยหรือการบริโภคน้อยเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงมิติอื่นๆ ที่มิใช่ตัวเงิน (Non-monetary Dimension) ดังที่ปรากฏอยู่ในคำนำของรายงานการพัฒนาโลก 2000/2001 การขจัดความยากจน ดังนั้น "ความยากจน” มิได้จำกัดแต่เพียงการมีรายได้น้อยและการบริโภคน้อยเท่านั้น หากยังครอบคลุมถึงการขาดโอกาสด้านการศึกษา การรักษาพยาบาล และโอกาสอื่นในการพัฒนาคน การไร้ซึ่งอำนาจ การขาดสิทธิขาดเสียง ตลอดจนการตกอยู่ในความเสี่ยง และความหวาดกลัว"เมื่อนิยามความยากจนอิงกับมิติด้านอื่นๆ ที่กว้างขึ้น เช่น ความขาดแคลนโอกาสในด้านต่างๆ และขาดแคลนอำนาจและสิทธิของบุคคล เครื่องมือที่ใช้ในการวัดสภาวะความยากจนจึงกว้างขึ้นเช่นกัน นั่นคือดูที่ศักยภาพของคนจนว่าได้รับการเสริมสร้างและพัฒนาอย่างไร เช่น การขยายโอกาสในการเข้าถึงบริการพื้นฐานทางสังคมต่างๆ ของรัฐ อาทิ การศึกษา การสาธารณสุข ควบคู่ไปกับการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงปัจจัยการผลิต เช่น ที่ดิน ทุน และตลาด ตลอดจนการกระจายอำนาจการบริหารจัดการทรัพยากรและอำนาจทางการเมืองให้กับท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมมากขึ้น
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์เปรียบเทียบ ระหว่างชุมชนต้นแบบที่มีองค์กรหรือการรวมกลุ่มของภาคประชาชนเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชนในชุมชน กับชุมชนเปรียบเทียบ ในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่ กำแพงเพชร จังหวัดตาก และจังหวัดสุโขทัย เพื่อพิจารณาผลของความพยายามในการพึ่งพาตนเองต่อการแก้ไขปัญหาความยากจน และความเหลื่อมล้ำในสังคมของครัวเรือน โดยมีกระบวนการในการศึกษาวิจัย
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :612 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายวิทยา คามุณี บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด