รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000474
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :รูปแบบการพัฒนาทักษะนักศึกษาช่างไฟฟ้าและช่างอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง สู่การเป็นประชาคมอาเซียน
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :) Model for Develop Electrical and Electronics technicians Student Skill in Northern Lower Rajabhat University to ASEAN Community
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :-
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม > สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้า
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :แผนงานวิจัยหรือชุดโครงการวิจัยและโครงการวิจัยที่ได้รับอนุมัติและอยู่ระหว่างดำเนินการ
งบประมาณที่เสนอขอ :201876
งบประมาณทั้งโครงการ :201,876.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2556
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2557
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิทยาศาตร์และเทคโนโลยี (ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและอุตสาหกรรม)
สาขาวิชาการ :สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :การพัฒนาคนมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศชาติ เนื่องจากคนเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศ หากคนมีคุณภาพการพัฒนาประเทศจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเช่นกันการศึกษาเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาคน โดยเฉพาะการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมเป็นกลไกหลักในการแก้ปัญหาความยากจน เสริมสร้างความสงบสุข อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ยกระดับคุณภาพชีวิต และนำไปสู่การสร้างกำลังแรงงานที่ยั่งยืน เห็นได้จากการประชุม World Economic Forum ประจำ ปี 2006 ที่ Davos ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ตัวแทนจากอเมริกาเสนอต่อที่ประชุมว่าการฝึกอบรมด้านอาชีพเป็นสิ่งจำเป็นต่อการลดช่องว่างทักษะแรงงาน เนื่องจากมีแรงงานที่ต้องการงานทำจำนวนมากในขณะที่ผู้ประกอบการก็ต้องการแรงงานมากเช่นกัน แต่เนื่องจากทักษะของแรงงานไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องการ ดังนั้นประเทศต่างๆ จึงควรให้ความสำคัญและสนับสนุนเรื่องการฝึกอบรมแรงงานให้มีทักษะที่เพิ่มขึ้นสามารถตอบสนองต่อความต้องการด้านแรงงานของอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นใหม่ในที่ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการและทักษะ กระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมประเทศอังกฤษที่เสนอว่าอัตราการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนของ GDP ต่อหัวต่อชั่วโมงขึ้นอยู่กับปัจจัย 5 ข้อ ได้แก่สมรรถนะและทักษะของบุคลากร การประกอบการ นวัตกรรม การแข่งขันของธุรกิจ วิสาหกิจ และการลงทุน (ชนะ กสิภาร์, 2549, หน้า 1) แสดงให้เห็นว่าทักษะของแรงงานมีความสำคัญต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมและความเจริญก้าวหน้าของประเทศเป็นอย่างยิ่ง
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อศึกษาทักษะนักศึกษาช่างไฟฟ้าและช่างอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง สู่การเป็นประชาคมอาเซียน 2. เพื่อศึกษาสภาพ และปัญหาของการพัฒนานักศึกษาช่างช่างไฟฟ้าและช่างอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง สู่การเป็นประชาคมอาเซียน 3. เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาทักษะนักศึกษาช่างไฟฟ้าและช่างอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง สู่การเป็นประชาคมอาเซียน 4. เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาทักษะนักศึกษาช่างไฟฟ้าและช่างอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง สู่การเป็นประชาคมอาเซียน
ขอบเขตของโครงการ :การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ผู้วิจัยทำการศึกษากลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ช่างไฟฟ้าและช่างอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 4 แห่ง ที่สังกัดคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ โดยได้แบ่งขอบเขตการวิจัย เป็น 4 ขั้นตอนใหญ่
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :17.1 การวิจัยระยะแรกได้ผลสำเร็จเบื้องต้น (P) ได้แก่ 1) การได้กรอบทักษานักศึกษาช่างไฟฟ้าและช่างอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง ที่ใช้ในการศึกษาทักษะช่างไฟฟ้าและช่างอิเล็กทรอนิกส์ สู่การเป็นประชาคมอาเซียน 2) การทราบถึงสภาพ และปัญหาของการพัฒนาทักษะนักศึกษาช่างไฟฟ้าและช่างอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง สู่การเป็นประชาคมอาเซียน 17.2 การวิจัยระยะต่อมาได้ผลสำเร็จกึ่งกลาง (I) ได้แก่ ร่างรูปแบบการพัฒนาทักษะนักศึกษาช่างไฟฟ้าและช่างอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง สู่การเป็นประชาคมอาเซียน ที่ผ่านการประเมินจากการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ 17.3 การวิจัยในระยะสุดท้ายได้ผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ (G) ได้แก่ รูปแบบการพัฒนาทักษะนักศึกษาช่างไฟฟ้าและช่างอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง สู่การเป็นประชาคมอาเซียน ที่ผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :1. การพัฒนารูปแบบและกลยุทธ์การส่งเสริมความเป็นศูนย์กลางการศึกษานานาชาติของประเทศไทยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. (กนิษฐา นาวารัตน์, 2549). 2. การศึกษาผลกระทบจากการทำ FTA ต่อแรงงานไทย. (กรมการจัดหางาน, 2550). 3. ข้อตกลงยอมรับร่วมของอาเซียนด้านบริการวิศวกรรม. (กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ, 2554). 4. ร่างมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติตามอุตสาหกรรม 5 กลุ่ม 18 สาขาอาชีพ 92 ตำแหน่ง. (กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรงแรงงาน, 2553).
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :-
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :570 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายวิษณุ บัวเทศ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด