รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000476
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาต้านอนุมูลอิสระจากพืชผักพื้นบ้าน จ.กำแพงเพชร
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Product Development of Teas with antioxidant from Local Plants in Kampheang phet Province.
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :-
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี > โปรแกรมวิชาเคมี
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :แผนงานวิจัยหรือชุดโครงการวิจัยและโครงการวิจัยที่ได้รับอนุมัติและอยู่ระหว่างดำเนินการ
งบประมาณที่เสนอขอ :220000
งบประมาณทั้งโครงการ :220,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2556
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2557
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิทยาศาสตร์สุขภาพ (ด้านการแพทย์และสาธารณสุข)
สาขาวิชาการ :สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
กลุ่มวิชาการ :ทรัพยากรพืช
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :เนื่องจากในสภาพสังคมในปัจจุบันประชาชนมีความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ เพิ่มสูงขึ้นซึ่งสาเหตุนั้นมีทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน เช่น มลพิษจากสิ่งแวดล้อม การได้รับรังสีจาก ดวงอาทิตย์ การบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ การสูบบุหรี่ ความตรึงเครียด โดยเฉพาะในสถานการณ์ต่าง ๆ มากมายที่ก่อให้เกิดความเครียด ทั้งเหตุการณ์ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมถึงประชาชนขาดการเอาใจใส่ดูแลสุขภาพที่ดี และผลเสียที่ตามมาคือ โรคภัยต่าง ๆ จึงทำให้มีการวิจัยและพัฒนาเพื่อหาแนวทางป้องกันและรักษาโดยพบว่าสาเหตุหนึ่งที่เป็นตัวการสำคัญของการเกิดโรคต่าง ๆ คือ อนุมูลอิสระ (free radical)โดยเฉพาะในเซลล์และส่วนประกอบของเซลล์สิ่งมีชีวิต และอนุมูลอิสระที่พบมากในร่างกายคือ อนุมูลอิสระของออกซิเจน เพราะร่างกายของเราจะมีการหายใจเอาออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายตลอดเวลา ทำให้เกิดอนุมูลอิสระในรูปของ reactive oxygen species (ROS) (นันทนา ศรีพันลม และ รุ่งทิวา ชิดทอง, 2547) ซึ่งมีความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยาและหากได้รับปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวข้างต้นก็ยิ่งทำให้เกิดปฏิกิริยาเร็วขึ้น อนุมูลอิสระเหล่านี้มักจะเหนี่ยวนำอิเล็กตรอนจากโมเลกุลอื่นให้มาเข้าคู่กับอิเล็กตรอนเดี่ยวที่มีอยู่ทำให้โมเลกุลที่ถูกเหนี่ยวนำสูญเสียอิเล็กตรอนเกิดความเสียหายและทำให้ขาดภาวะสมดุลของร่างกาย ซึ่งจะนำมาซึ่งโรคภัยต่าง ๆ อาทิเช่น โรคชรา (aging) โรคมะเร็ง (cancer) โรคหัวใจขาดเลือด (coronary heartdisease) โรคความจำเสื่อม (alzheimer disearse) และโรคอื่น ๆ อีกมากมาย จึงทำให้ผู้คนหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพหาวิธีป้องกันโรคต่างๆที่จะเกิดขึ้น โดยการสรรหาอาหารเพื่อสุขภาพ และในปัจจุบันเป็นที่นิยมกันมาก คือ อาหารต้านอนุมูลอิสระในอาหารต้านอนุมูลอิสระมีสารต้านอนุมูลอิสระที่มีหน้าที่ทำลายฤทธิ์ของอนุมูลอิสระ โดยป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันในส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยปกติร่างกายของมนุษย์สามารถกำจัดอนุมูลอิสระมี 2 วิธี คือ แบบใช้เอนไซม์กับไม่ใช้เอนไซม์ ในการกำจัดอนุมูลอิสระได้โดยการรับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น เบต้าแคโรทีน วิตามินซี วิตามินอี และสารต้านอนุมูลอิสระอื่นๆในพืชผัก ผลไม้ โดยอนุมูลอิสระจะถูกสารจับเอาไว้ทำให้ไม่เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1) เพื่อศึกษากรรมวิธีการผลิตชาที่เหมาะสมในการผลิตชาต้านอนุมูลอิสระจากพืชผักพื้นบ้าน จ.กำแพงเพชร 2) เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและคุณภาพทางด้านกายภาพและทางด้านเคมีอื่นๆของชาต้านอนุมูลอิสระจากพืชผักพื้นบ้าน จ.กำแพงเพชร 3) เพื่อศึกษาระดับการยอมรับทางประสาทสัมผัสของผู้บริโภค ที่มีต่อชาต้านอนุมูลอิสระจากพืชผักพื้นบ้าน จ.กำแพงเพชร
ขอบเขตของโครงการ :7.1 ขอบเขตด้านเนื้อหา ในงานวิจัยมีขอบเขตด้านเนื้อหาดังนี้ ศึกษากรรมวิธีการผลิตชาต้านอนุมูลอิสระจากพืชผักพื้นบ้าน จ.กำแพงเพชร โดยศึกษา 7.1.1 วิธีการแปรรูป จำแนกตามกรรมวิธีการผลิตชาใบหม่อนในระดับครัวเรือนของกรมวิชาการเกษตร 3 วิธี ได้แก่ 1) กรรมวิธีการผลิต ชาเขียว 2) กรรมวิธีการผลิต ชาจีน 3) กรรมวิธีผลิต ชาฝรั่ง 7.1.2 พืชผักพื้นบ้านที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บอน พันงู ใบยอ ผักปลัง และ ขจร 7.1.3 ศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและคุณภาพทางด้านกายภาพและทางด้านเคมีอื่นๆชาต้านอนุมูลอิสระจากพืชผักพื้นบ้าน จ.กำแพงเพชร 7.1.4 ศึกษาระดับการยอมรับทางประสาทสัมผัสของผู้บริโภค ที่มีต่อชาต้านอนุมูลอิสระจากพืชผักพื้นบ้าน จ.กำแพงเพชร
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :-
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :9.1 อนุมูลอิสระ (free radicals) อนุมูลอิสระ คือโมเลกุลหรือไอออนที่มีอิเล็คตรอนโดดเดี่ยว อยู่รอบนอกภายในอะตอมหรือโมเลกุลนั้น และมีอายุสั้นมากประมาณ 1 หรือ 10-3-10-10 วินาที จึงจัดว่าเป็นโมเลกุลที่ไม่เสถียรและว่องไวต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี ซึ่งสามารถพบได้ทุกแห่งทั้งในสิ่งแวดล้อม ในสิ่งมีชีวิตและในเซลล์ แต่ในร่างกายหรือในระบบชีวภาพออกซิเจนเป็นโมเลกุลที่พบในปริมาณมาก โดยพบว่า ในสภาวะแก๊สในชั้นบรรยากาศประกอบด้วยออกซิเจนร้อยละ 21 โดยปริมาตรและที่พื้นดินพบออกซิเจนส่วนมากอยู่ในรูปของสารประกอบ คือ น้ำ (H2O) ออกซิเจนประกอบด้วยอิเล็กตรอนที่ไม่เข้าคู่กันภายในโมเลกุล 2 อิเล็กตรอน ( diatomic O2 molecule ) ดังนั้นออกซิเจนที่มีอิเล็กตรอนที่ไม่เข้าคู่กันนี้ จึงจัดเป็นอนุมูลอิสระด้วย ซึ่งอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นชั่วคราวนี้จะมีอายุนานมากน้อยขึ้นอยู่กับความสามารถในการเกิดปฏิกิริยาของมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการผลิตพลังงานภายในเซลล์ ซึ่งในสภาวะปกติของร่างกาย ออกซิเจนจะไม่ว่องไวต่อปฏิกิริยาและการออกซิไดซ์สารอินทรีย์อื่นๆจะเกิดในอัตราที่ช้ามาก แต่อัตราการออกซิไดซ์จะเพิ่มมากขึ้นโดยอาศัยความร้อนและเอนไซม์บางชนิดทำให้ออกซิเจนบางส่วนจะถูกปล่อยเข้าสู่ร่างกายเป็นอนุมูลอิสระจากกระบวนการเมตาบอลิซึม (metabolism) โดยมีการเคลื่อนย้ายอิเล็กตรอนออกจากโมเลกุลของออกซิเจน ทำให้อิเล็กตรอนในโมเลกุลออกซิเจน ไม่สมดุลกลายเป็นอนุมูลอิสระและว่องไวในการเข้าทำปฏิกิริยามาก สามารถดึงอิเล็กตรอนจากโมเลกุลอื่นมาแทนที่อิเล็กตรอนที่หายไป เพื่อให้ตัวเองเกิดความสมดุลหรือเสถียร (stable) โดยสามารถตรวจวัดด้วย electron spin resonance (ESR) โมเลกุลหรือไอออนชนิดนี้เป็นตัวก่อให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ไปจนกว่าอนุมูลอิสระสองตัวจะมาจับคู่กันเองเกิดเป็นพันธะที่มีอิเล็กตรอนสองตัวมีคู่กันได้ บางชนิดจะคงตัวมาก เช่น เมลานิน บางตัวก็คงตัวพอสมควร เช่น nitric oxide (NO) มีช่วงอายุประมาณ 5 วินาที ในขณะที่ hydroxyl radicals จะไวต่อปฏิกิริยามากและมีอายุเพียง 10-8 วินาที เท่าที่ผ่านมามีผู้ที่สนใจเกี่ยวกับอนุมูลอิสระมาก เพราะเชื่อว่าเป็นสาเหตุหนึ่งของความแก่ของสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะอนุมูลอิสระของออกซิเจน (นันทนา ศรีพันลม และ รุ่งทิวา ชิดทอง, 2547) นอกจากออกซิเจนแล้วยังมีแก๊สอื่น ๆ ที่เป็นอนุมูลอิสระ ได้แก่ ไนตริกออกไซด์ (NO. หรือ NO ) และไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2. หรือ NO2 ) เป็นต้น ในที่นี้จะขอกล่าวถึงอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นในร่างกายจากกระบวนการต่างๆ ที่มีบทบาทในการควบคุมและประสานการทำงานของเซลล์ภายในร่างกาย ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้ง่ายในปฏิกิริยาต่างๆ ได้แก่ อนุมูลอิสระของออกซิเจน และอนุมูลอิสระของไนโตรเจน
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :-
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :733 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางขวัญดาว แจ่มแจ้ง บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด