รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000479
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและความสำเร็จของประชาธิปไตย
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :(Social capital: Reducing social inequality and making democracy work)
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :-
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ > โปรแกรมวิชาการพัฒนาสังคม
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :แผนงานวิจัยหรือชุดโครงการวิจัยและโครงการวิจัยที่ได้รับอนุมัติและอยู่ระหว่างดำเนินการ
งบประมาณที่เสนอขอ :200000
งบประมาณทั้งโครงการ :200,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2556
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2557
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (ด้านพัฒนาสังคมและวัฒนธรรม)
สาขาวิชาการ :สาขาสังคมวิทยา
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :Robert D. Putnam (1993) อธิบายในงานวิจัยเรื่อง Making Democracy Work: Civic Traditions in Modern Italy ว่า ทุนทางสังคมและประชาสังคมเป็นกุญแจของการพัฒนาการเมืองและคุณภาพของการปกครองระดับรากหญ้าภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสถาบันใหม่ และผลกระทบที่แท้จริงของสถาบันใหม่ต่อพฤติกรรมทางการเมืองของผู้นำและพรรคการเมืองในการตอบสนองต่อความคาดหวังของประชาคมพลเมือง คุณภาพของประชาธิปไตยขึ้นอยู่กับพลเมืองหรือไม่ นัยหนึ่งเป็นคำถามสะท้อนเนื้อแท้ของการเมืองและการปกครองว่าประชาชนเป็นอย่างไรรัฐบาลก็สมควรเป็นอย่างนั้น ทำไมรัฐบาลประชาธิปไตยบางภูมิภาคความความสำเร็จและบางแห่งประสบความล้มเหลว ทั้งที่อยู่ภายใต้โครงสร้างรัฐธรรมนูญเดียวกัน ประสิทธิภาพของการดำเนินงานของสถาบันขึ้นอยู่กับบริบทสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมืองหรือไม่ นอกจากนี้อะไรเป็นเงื่อนไขสำหรับการสร้างสถาบันผู้แทนให้เข้มแข็งและตอบสนองความต้องการของพลเมืองและการปฏิบัติการร่วมกันโดยมีความสัมพันธ์แนวราบบนบรรทัดฐานของการตอบแทนประโยชน์และเครือข่ายการการทำกิจกรรมร่วมกันของพลเมือง (normsof reciprocity and networks of civic engagement) ในการร่วมกันปกครองตนเอง (self government)ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการดำเนินงานของสถาบันประชาธิปไตย การพัฒนาเศรษฐกิจ และพลเมืองที่แสดงบทบาทชีวิตสาธารณะซึ่งถูกยกเป็นประเด็นสำคัญในการถกเถียงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าทำไมบางภูมิภาคจึงมีความเป็นประชาคมพลเมืองมากกว่าภูมิภาคอื่น ยิ่งไปกว่านั้นยังได้ค้นพบว่าความแตกต่างของแบบแผนในการมีส่วนร่วมของพลเมืองและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางสังคมมีผลต่อคุณภาพชีวิตของสาธารณะ สำหรับ Putnam ชี้ให้เห็นประเด็นสำคัญว่า จารีตประเพณีและเครือข่ายการมีส่วนร่วมของพลเมืองมีผลที่ทรงพลังต่อประสิทธิภาพของรัฐบาลและเสถียรภาพทางการเมืองตลอดระยะเวลา โดยสังเคราะห์เป็นกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีว่าการปฏิบัติการร่วมกันในแนวราบ (horizontal collective action) และแนวคิดทุนทางสังคมภายใต้เงื่อนไขของประวัติศาสตร์ของการเปลี่ยนแปลงสถาบันและชีวิตสาธารณะที่การหลอมรวมวัฒนธรรมทางการเมืองอันมีผลต่อความล้มเหลวและสำเร็จของสถาบันประชาธิปไตยระดับภูมิภาคของประเทศอิตาลีอย่างมีพลัง กล่าวคือรัฐบาลบางภูมิภาคตอนใต้อยู่ภายใต้การควบคุมจากส่วนกลางโดยได้รับการจัดสรรทรัพยากรทำให้ไม่มีอิสระในการปกครองตนเองขณะที่ชนชั้นปกครองเองก็พยายามรักษาเครือข่ายแนวดิ่งที่มีความสัมพันธ์แบบพึ่งพาและเอารัดเอาเปรียบให้เข้มแข็ง
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :6.1 ศึกษาบริบททางสังคม เศรษฐกิจ วัฒนาธรรม และการเมืองของเครือข่ายสวัสดิการชุมชนในจังหวัดกำแพงเพชรและตาก 6.2 วิเคราะห์โครงสร้าง วัฒนธรรม และกระบวนการทำกิจกรรมการรวมกลุ่มเป็นทุนทางสังคม การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและขบวนการประชาธิปไตยของเครือข่ายสวัสดิการชุมชนในจังหวัดกำแพงเพชรและตาก 6.3 สังเคราะห์องค์ประกอบ มิติ ระดับและบทบาทหน้าที่ของทุนทางสังคมในการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และความสำเร็จของประชาธิปไตยจากเครือข่ายสวัสดิการชุมชนในจังหวัดกำแพงเพชรและ
ขอบเขตของโครงการ :ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนด ขอบเขตของการศึกษา ซึ่งครอบคลุมทั้งพื้นที่ ประชากร และผู้ให้ข้อมูลหลักรวมทั้งขอบเขตเนื้อของ 4 พื้นที่ ในจังหวัดกำแพงเพชรและตากโดยมีรายละเอียดดังนี้ 7.1 พื้นที่กรณีศึกษา ผู้วิจัยได้เจาะจงพื้นที่ตามกรอบทฤษฎีของ Ferdinand Tonnies (1995) ที่จำแนกพื้นที่บนพื้นฐานความสัมพันธ์ทางสังคม (social relationship) ซึ่งมี 2 ลักษณะคือ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :-
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :นโยบายและมาตรการของรัฐ แนวคิดทฤษฎีสัญญาประชาคม คำอธิบาย การรวมตัวของประชาชนเป็นสังคมภายใต้ระบบปกครองและรัฐบาลเดียวกันเป็นการทำสัญญาประชาคมอย่างหนึ่งสาระสำคัญคือ การช่วยเหลือกันในยามเดือดร้อน เช่น จากสงครามหรือถูกรุกรานจากภายนอกการช่วยกัน/ร่วมมือกันย่อมดีกว่าอยู่อย่างโดดเดี่ยวหรือต่างคนต่างอยู่ ในบริบท distributive justice หมายถึง “ความเป็นธรรมเกี่ยวกับการแบ่งปันรายได้” (อาจเรียกว่า“การเฉลี่ยความสุขความทุกข์และมาตรการช่วยเหลือคนจน”) กล่าวคือการสร้างระบบคนรวยช่วยคนจน ในขณะเดียวกันเป็นวิธีลดความเสี่ยงของทุกคน สัญญาประชาคมเป็นความตกลงร่วมกันด้วยความสมัครใจการเกื้อกูลกันตามนัยของทฤษฎีของจอน รอส์ (John Rawls) ไม่ใช่เป็นลักษณะของการสงเคราะห์ของปัจเจกต่อปัจเจกที่เกิดจากความรู้สึกเห็นอกเห็นใจส่วนบุคคล แต่เป็นข้อตกลงร่วมกันของสังคม (สัญญาประชาคม) ทฤษฎีความเป็นธรรม ของจอน รอส์ สรุปใจความสำคัญสองประการ คือ หนึ่ง สมาชิกในสังคมพึงได้รับสิทธิและปัจจัยขั้นพื้นฐานจากรัฐ สอง เกี่ยวกับนโยบายการจัดสรรทรัพยากรของสังคม--รัฐพึงผลิตนโยบายที่ยึดหลักประโยชน์สูงสุดสำหรับกลุ่มที่ด้อยโอกาสในสังคม (หลักการmaximin) ขยายความ หลักการนี้ยอมรับว่า รายได้หรือการจัดสรรทรัพยากรในสังคมอาจจะไม่เท่าเทียมกัน (และไม่ได้เรียกร้องถึงขั้น “เท่าเทียมกันทุกประการ”) อย่างไรก็ตาม แม้ในสภาพความไม่เท่าเทียมกันนั้นยังมี”ทางเลือก” เช่น สถานการณ์ A, B, C ทั้งสามสถานการณ์—มีคนรวยและคนจน (ไม่เท่าเทียมกัน) สมมติเป็นตัวเลขการแบ่งสรรรายได้ระหว่างสองกลุ่มนี้ คือ A = 80:20; B=65:35; C = 70:30 โดยเปรียบเทียบ สถานการณ์ B เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มคนจนมากที่สุด) ในบรรดาสามทางเลือกที่เป็นไปได้--ภาครัฐพึงผลิตมาตรการ/นโยบายเพื่อให้ได้สถานการณ์ B
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :8.1.1ทฤษฎีทุนทางสังคม Robert D. Putnam (1993) อธิบายในงานวิจัยเรื่อง Making Democracy Work: Civic Traditions in Modern Italy ว่า ทุนทางสังคมและประชาสังคมเป็นกุญแจของการพัฒนาการเมืองและคุณภาพของการปกครองระดับรากหญ้าภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสถาบันใหม่ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสถาบันภูมิภาคและความสำเร็จของสถาบันประชาธิปไตยใน 20 ภูมิภาคของประเทศอิตาลี โดยใช้เวลารวบรวมรวบรวมข้อมูลหลังจากการปฏิรูปการเมืองกว่าสองทศวรรษนับตั้งแต่ปี 1970 และผลกระทบที่แท้จริงของสถาบันใหม่ต่อพฤติกรรมทางการเมืองของผู้นำและพรรคการเมืองในการตอบสนองต่อความคาดหวังของประชาคมพลเมืองจากการปฏิรูปสถาบัน (institutionalreform) ยิ่งไปกว่านั้นงานวิจัยนี้ยังได้ถามย้ำว่า คุณภาพของประชาธิปไตยขึ้นอยู่กับพลเมืองหรือไม่ นัยหนึ่งเป็นคำถามสะท้อนเนื้อแท้ของการเมืองและการปกครองว่าประชาชนเป็นอย่างไรรัฐบาลก็สมควรเป็นอย่างนั้น ทำไมรัฐบาลประชาธิปไตยบางภูมิภาคความความสำเร็จและบางแห่งประสบความล้มเหลว ทั้งที่อยู่ภายใต้โครงสร้างรัฐธรรมนูญเดียวกัน ประสิทธิภาพของการดำเนินงานของสถาบันขึ้นอยู่กับบริบทสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมืองหรือไม่และทั่วโลก นอกจากนี้อะไรเป็นเงื่อนไขสำหรับการสร้างสถาบันผู้แทนให้เข้มแข็งและตอบสนองความต้องการของประชาชน เพื่อความเข้าใจในพลวัตและนิเวศวิทยาของผลการดำเนินงานของสถาบัน Putnam อธิบายผลการดำเนินงานผ่าน 3 สำนักคิดสำคัญ คือ สำนักคิดการออกแบบเชิงสถาบัน (institutional design) สำนักนี้มองการดำเนินงานของสถาบันประชาธิปไตยการสร้างรัฐธรรมนูญหรือกฎกติกาของสถาบันทางการเมืองในฐานะ “ทุนสถาบัน” (institutional capital)สำนักคิดความทันสมัยทางเศรษฐกิจสังคม(socioeconomic modernity) เน้นความอยู่ดีมีสุขทางเศรษฐกิจรวมทั้งสวัสดิการสังคม และสำนักคิดจารีตประเพณีทางสังคมและวัฒนธรรม(socioculturaltraditions) เน้นปรับเปลี่ยนทัศนคติ ค่านิยม คุณธรรม และการเอางานเอาการของ “พลเมืองจิตสาธารณะ (public-spirited citizen)” ในพื้นที่สาธารณะ (civic life) ตลอดจนวัฒนธรรมทางการเมืองและการพัฒนาสถาบันท้องถิ่นผ่านเครือข่ายและบรรทัดฐานการมีส่วนร่วมของพลเมืองต่อนโยบายสาธารณะ
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :-
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :777 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายวิทยา คามุณี บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด