รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000480
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาและหาประสิทธิภาพเครื่องฟักไข่โดยการมีส่วนร่วมของกลุ่มเกษตรกร ตำบลระหาน อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The Development and Finding Efficiency of Egg Incubator Machine with Participation for The Agriculturist Group at Rahan Sub district, Buengsamakee Distric, Kamphaeng Phet Province
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :-
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม > สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้า
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :แผนงานวิจัยหรือชุดโครงการวิจัยและโครงการวิจัยที่ได้รับอนุมัติและอยู่ระหว่างดำเนินการ
งบประมาณที่เสนอขอ :253200
งบประมาณทั้งโครงการ :253,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2556
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2557
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิทยาศาตร์และเทคโนโลยี (ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและอุตสาหกรรม)
สาขาวิชาการ :อื่นๆ
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :อาชีพเกษตรกรรมถือได้ว่าเป็นอาชีพหลักของประเทศไทยรายได้ของทั่วประเทศจึงมาจากผลิตผลทางการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากภูมิประเทศมีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมากจึงมีความเหมาะสมที่จะทำการเกษตร ผลิตผลทางการเกษตรที่มีความสำคัญของประเทศคือ การเพาะปลูกและการทำปศุสัตว์ โดยเฉพาะการเลี้ยงไก่ถือได้ว่าเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรไม่ว่าจะเป็นไก่พันธ์ไข่ ไก่พันธ์เนื้อ ไก่บ้าน ไก่ชนเป็นต้น ในปัจจุบันอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ได้เจริญเติบโตเป็นอย่างมากดังนั้นกระบวนการในการเลี้ยงไก่ให้ได้คุณภาพถือได้ว่ามีความสำคัญในทุกๆขั้นตอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการในการฟักไข่ถือได้ว่าต้องใช้ความระมัดระวังในการดูแล เทคโนโลยีการฟักไข่จึงมีความสำคัญอย่างมากทั้งในระดับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ไปจนถึงกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่รายย่อย เพื่อเพิ่มอัตราการฟักไข่ให้สูงขึ้นแทนการฟักไข่ตามธรรมชาติ
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :6.1 เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของเครื่องฟักไข่ที่ใช้ในปัจจุบันของกลุ่มเกษตรกร ตำบลระหานอำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร 6.2 เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการเครื่องฟักไข่ที่กลุ่มเกษตรกรต้องการใช้งานแบบมีส่วนร่วม ตำบลระหาน อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร 6.3 เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพเครื่องฟักไข่โดยการมีส่วนร่วมของกลุ่มเกษตรกร ตำบลระหาน อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร
ขอบเขตของโครงการ :โครงการวิจัยนี้มีขอบเขตของการวิจัยตามวัตถุประสงค์ดังนี้ 7.1 เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของเครื่องฟักไข่ที่ใช้ในปัจจุบันของกลุ่มเกษตรกร ตำบลระหานอำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร 7.1.1 ขอบเขตด้านเนื้อหา ศึกษาประสิทธิภาพการใช้งานของเครื่องฟักไข่ที่เกษตรกรใช้ในปัจจุบัน เช่นศึกษาจากอัตราการฟักไข่ ระดับความคงที่ของอุณหภูมิ การปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า ความสะดวกในการใช้งาน 7.1.2 ขอบเขตด้านแหล่งข้อมูล 1) แหล่งข้อมูลด้านเนื้อหา ได้แก่ บทความวิจัย วารสารวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเครื่องฟักไข่
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ได้วิธีการพัฒนาและหาประสิทธิภาพเครื่องฟักไข่โดยการมีส่วนร่วมของกลุ่มเกษตรกร ตำบลระหาน อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร เพื่อสนองความต้องการของกลุ่มเกษตรกรในการใช้ประโยชน์จากเครื่องฟักไข่ที่พัฒนาแล้วได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้า เสริมระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นที่ดีขึ้นและมีระบบตรวจจับการฟักไข่ ซึ่งมีความแตกต่างจากระบบเครื่องฟักไข่แบบเดิมที่มีใช้อยู่ นอกจากนี้การมีส่วนร่วมของกลุ่มเกษตรกรของ อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร ยังเป็นแนวทางในการนำไปสู่การสร้างหรือแก้ปัญหาที่เกี่ยวนวัตกรรมทางด้านการเกษตรในงานวิจัยชิ้นอื่นๆต่อไป (P)
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :ชาญวิทย์ อุดมศักดิกุล(2544)ได้ศึกษาการพัฒนาเครื่องฟักไข่พลังงานแสงอาทิตย์มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างเครื่องฟักไข่พลังงานแสงอาทิตย์สำหรับใช้ในพื้นที่ห่างไกล หลักการทำงานคือจะใช้น้ำร้อนจากเครื่องทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ไหลหมุนเวียนผ่านอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนแล้วใช้พัดลมดึงความร้อนผ่านอุปกรณ์แลกเปลี่ยน ความร้อนเข้าสู่เครื่องฟักไข่ การให้ความชื้นในเครื่องฟักไข่จะใช้วิธีการระเหยตามธรรมชาติ ควบคุมอุณหภูมิด้วยเครื่องควบคุมอุณหภูมิ อัตโนมัติ การกลับไข่จะมีอุปกรณ์ตั้งเวลาทำให้กลับไข่ได้ตามเวลาที่กำหนด ไฟกระแสตรงขนาด 12 โวลต์ ซึ่งได้จากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 53 วัตต์ จำนวน 6 แผง สำหรับความร้อนที่ใช้ในการฟักไข่ได้จากเครื่องทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ โดยมีถังเก็บผลการทดสอบเครื่องฟักไข่พลังงานแสงอาทิตย์จากการทดลองพบว่า อุณหภูมิภายในเครื่องฟักไข่อยู่ใน ช่วง 37-39 องศาเซลเซียส และความชื้นภายในเครื่องฟักอยู่ในช่วง 60-80% และเปอร์เซ็นต์การฟัก เท่ากับ 70%
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :-
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :2241 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายมนูญ บูลย์ประมุข บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด